วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ตู้อบอาหารอเนกประสงค์ 24 ชั่วโมง พลังงานแสงอาทิตย์ โครงงานวิทยาศาสตร์


ตู้อบอาหารอเนกประสงค์ 24 ชั่วโมง พลังงานแสงอาทิตย์






เจ้าของผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์

คนที่ ๑ เด็กชายปรัชญา   ทาสิมมา                    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
          
คนที่ ๒ เด็กชายวิทวัส   ชัยวิเศษ                      ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
          
ครูที่ปรึกษา
1.     นายอภิศักดิ์  กิ่งนาคม

2.     นางสาวจิราพร  สุวรรณสาร



สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์(Invention)
ตู้อบอาหารอเนกประสงค์ 24 ชั่วโมง พลังงานแสงอาทิตย์

1.     บทคัดย่อ
ตู้อบอาหารอเนกประสงค์ 24 ชั่วโมง พลังงานแสงอาทิตย์เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้การอบอาหารสะดวกและง่ายขึ้น สามารถประหยัดพลังงาน ประหยัดเวลาและทำให้อาหารสะอาดปราศจากแมลงวันและแมลงต่างๆ รบกวน ซึ่งประกอบด้วยตู้อบและชุดไฟโซล่าเซลล์ (Solar Ligth) โดยตู้อบอาหารอเนกประสงค์ 24 ชั่วโมง พลังงานแสงอาทิตย์สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าและทำงานโดยอัตโนมัติ

2.     ความเป็นมา/แนวคิด/แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน

       ในช่วงฤดูฝนของทุกปี จะมีฝนตกหนัก ทำให้มีปลาชุกชุมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งอำเภอปากคาดมีภูมิประเทศติดกับแม่น้ำโขงและมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติเป็นจำนวนมากทำให้คุณพ่อสามารถจับปลาได้เป็นจำนวนมาก็นำมารับประทานและนำไปขายที่ตลาดเมื่อเหลือจากการรับประทานและนำไปขายที่ตลาดก็จะนำมาแล่และไปวางไว้บนกระด้ง(ถาดสานจากไม้ไผ่)และนำไปตากแดด 
คณะผู้จัดทำพบว่าเมื่อเวลาฝนตกทำให้เราต้องรีบเก็บกระด้งมาไว้ในบ้านและตอนที่ตากก็มักจะมีแมลงวันมาตอมปลาทำให้อาหารไม่สะอาด และใช้เวลาตากหลายวันในช่วงฤดูฝน
     คระผู้จัดทำจึงได้ศึกษาข้อมูลจากสื่ออินเตอร์เน็ต คิดค้นหาวิธีแก้ปัญหา จะทำอย่างไรจึงจะสามารถตากปลาได้ตลอดเวลา ป้องกันแมลงวันและใช้เวลาน้อยในการตากปลา จึงได้สร้างตู้อบอเนกประสงค์ 24 ชั่วโมง พลังงานแสงอาทิตย์ ที่สามารถตากปลาได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอีกทั้งยังสามารถประหยัดพลังงาน ประหยัดเวลาและทำให้อาหารสะอาดปราศจากแมลงวันและแมลงต่างๆ รบกวนได้ด้วย และเป็นแนวทางในการประดิษฐ์ตู้อบอาหาร ให้ผู้อื่นสามารถศึกษานำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

3.     วัตถุประสงค์

3.1   เพื่อประดิษฐ์เครื่องอบอาหารพลังงานแสงอาทิตย์ อบทั้งกลางวันและกลางคืน
3.2 เพื่อศึกษาเรื่องพลังงานแสง  พลังงานความร้อน การเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า
และเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานความร้อน
3.3   เพื่อศึกษาเรื่องการถนอมอาหารให้ถูกสุขอนามัย

4.     วัสดุที่ใช้
4.1  อลูมิเนียมฉาก
4.2  อลูมิเนียมแผ่น
4.3  อลูมิเนียมกล่อง
4.4  กระจกใส
4.5  ตายข่ายมุ้งลวด
4.6 ชุดไฟโซล่าเซลล์ (Solar Ligth)
4.7 ตะแกรงปิ้ง-ย่าง
5. งบประมาณ      
          2,500  บาท
6.     ขั้นตอนการผลิตสิ่งประดิษฐ์และวิธีใช้

6.1 ขั้นตอนการผลิตตู้อบอาหารอเนกประสงค์ 24 ชั่วโมง พลังงานแสงอาทิตย์
1. ตัดอลูมิเนียมฉาก ขนาด  90 เซนติเมตร      จำนวน   4     เส้น
                                 ขนาด  20 เซนติเมตร      จำนวน   2     เส้น
                                 ขนาด  40 เซนติเมตร      จำนวน   4     เส้น
                                 ขนาด  45 เซนติเมตร      จำนวน   4     เส้น
                                 ขนาด  48 เซนติเมตร      จำนวน   2     เส้น
2. นำอลูมิเนียมจากข้อ 1 มาประกอบเป็นตู้อบ ติดมุ้งตาข่ายลวดรอบๆด้านข้างตู้อบ
3. ตัดแผ่นอลูมิเนียมขนาด (กxย)  45 x 90  เซนติเมตร  ติดลงบนพื้นของตู้อบ
4. ตัดอลูมิเนียมกล่อง ขนาด  90 เซนติเมตร      จำนวน   2     เส้น
                                  ขนาด  45 เซนติเมตร      จำนวน   2     เส้น
5.   นำอลูมิเนียมจากข้อ 4 มาประกอบเป็นฝาปิดตู้อบ นำแผ่นกระจกใจมาติดกับฝาปิดและติดตั้งใส่กับตู้อบ
6.   ติอตั้งชุดไฟโซล่าเซลล์+สปอร์ตไลท์เข้ากับตู้อบ

6.2 วิธีใช้ตู้อบอาหารอเนกประสงค์ 24 ชั่วโมง พลังงานแสงอาทิตย์
เวลากลางวัน  เปิดฝาตู้อบ นำอาหารที่ต้องการตากแห้งวางบนตะแกรง ปิดฝาตู้อบให้สนิท
หมายเหตุ  กลางวันใช้ความร้อนในการอบอาหารจากแสงอาทิตย์  หากวันใดไม่มีแสงอาทิตย์ให้เปิดไฟที่สปอร์ต์ไลท์ โดยกดปุ่มที่รีโมท เปิด (ON)


เวลากลางคืน เปิดฝาตู้อบ นำอาหารที่ต้องการตากแห้งวางบนตะแกรง ปิดฝาตู้อบให้สนิท
หมายเหตุ  กลางคืนใช้ความร้อนจากแสงสปอร์ตไลท์ จะเปิดโดยอัตโนมัติ  หากคืนใด     ไม่ต้องการให้มีความร้อนในการอบอาหารให้ปิดสปอร์ตไลท์ โดยกดปุ่มที่รีโมท ปิด (OFF)

จากการทดสอบวัดอุณหภูมิกลางแจ้ง ตู้อบอาหารอเนกประสงค์ 24 ชั่วโมง พลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวันและกลางคืน ดังตารางต่อไปนี้

ช่วงเวลา
อุณหภูมินอกตู้อบ(เซลเซียส)
อุณหภูมิในตู้อบ(เซลเซียส)
กลางวัน
42
43
กลางคืน
28
33

                   จากตารางจะเห็นได้ว่า ในเวลากลางวันอุณหภูมิจะไม่แตกต่างกันมากนักเพราะตากแดดเหมือนกัน แต่ในเวลากลางคืนอุณภูมิในตู้อบจะมีมากกว่าอุณหภูมินอกตู้อบอย่างชัดเจน
7.     แผนภาพและหลักการทำงาน
7.1 แผนภาพ


7.2 หลักการทำงาน
เวลากลางวัน  ตู้อบจะใช้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ในการอบอาหาร
เวลากลางคืน ตู้อบจะใช้พลังงานความร้อนจากแสงไฟสปอร์ตไลท์  ซึ่งแผงโซล่าเซลล์จะเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าและเก็บไปยังตัวเก็บประจุไฟฟ้าที่ตัวสปอร์ตไลท์
8.     ขนาด/น้ำหนักสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์
ขนาด  (ยxxส)  = 90 x 48 x 45  เซนติเมตร
น้ำหนัก  = 9.5 กิโลกรัม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น