วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

โครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลอง เรื่อง ศึกษา เปรียบเทียบ การใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืน











บทที่ ๑
บทนำ
๑.๑ ที่มาและความสำคัญ
ดิฉันเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านโนนเสถียร เรียนคาบวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งอยู่ในเนื้อหาของการสืบพันธุ์ของพืช แบบไม่ใช้เพศและขยายพันธุ์พืช คุณครูได้พาฉันกับเพื่อน เดินไปหลังอาคาร ๑ ของโรงเรียน มีต้นมะนาวอยู่สองต้น คุณครูได้สาธิตเกี่ยวกับการตอนกิ่งมะนาว แต่มาถึงตอนคุณครูทากะปิตรงที่ควั่นกิ่งมะนาวออก ฉันก็เริ่มสงสัย จึงได้ยกมือถามคุณครูว่าทำไมคุณครูต้องทากะปิด้วยค่ะ คุณครูตอบฉันว่า เพราะสารไคโตซานที่มีอยู่ในกะปิจะช่วยไปเร่งรากกิ่งมะนาว คุณครูบอกว่าตอนกิ่งเสร็จแล้วปล่อยทิ้งไว้ ๓๐-๔๕ วัน ค่อยมาดูกิ่งมะนาวที่เราตอน ฉันก็ยังสงสัยในเรื่องกะปิที่ช่วยเร่งการออกราก ทำให้เกิดความอยากรู้ ใคร่สงสัย อยากศึกษาว่าเป็นจริงหรือไม่  
คณะผู้ทำจึงได้ศึกษาหาข้อมูลจากสื่ออินเตอร์เน็ต คิดค้นหาวิธีทดลอง ศึกษา  มีสูตรตั้งมากมายที่ช่วยการเร่งราก ไม่ว่าจะใช้กะปิ ผงชูรส เครื่องดื่มชูกำลัง เพราะมีว่าวิตามินบี วิตามินอื่นอีกมากมาย ฉันคิดว่า นมถั่วเหลือง ซีอิ๊วดำ ก็มีวิตามินเหมือนกัน คณะผู้จัดทำจึงคิดรวบรวมสูตรตามยูทูป และเพิ่มสูตรจากสารปรุงอาหารเข้ามา ซึ่งมีวิตามินบี ๑ ช่วยในการเร่งราก แต่จะใช้กิ่งมะนาวก็ใช้เวลานานเกินไป จึงเลือกใช้ต้นตะไคร้ เพราะเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีตะไคร้ตามบ้านเรือนแล้ว แต่ก่อนถ้าอยากใส่ต้มหรือนำไปประกอบอาหารก็เก็บตามบ้าน หรือบ้านญาติ แต่ปัจจุบันนี้ส่วนมากต้องไปซื้อที่ตลาด ไม่ค่อยมีปลูกไว้ตามบ้านเรือนแล้ว และตะไคร้ก็เป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์มากมาย บำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ทำให้เจริญอาหาร ดับกลิ่นคาว  จึงได้คิดวิธีการทดลองออกเป็น ๖ วิธี ดังนี้ ๑.น้ำเปล่า ๒.กะปิ ๓.คาราบาวแดง ๔.กะปิ ผงชูรส M๑๕๐
๕.กะปิ ผงชูรส ไข่แดง ถั่วเหลือง ๖.กะปิ ผงชูรส M๑๕๐ นมเปรี้ยว ซีอิ้วดำ เทสูตรผสมแต่ละวิธีลงในโหลทดลองที่ ๑-๖ นำตะไคร้ลงไปแช่ ๑ คืน แล้วเทสูตรผสมออก เติมน้ำเปล่าใส่แทน แช่อีก ๓ คืน สังเกต บันทึกผล
          ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืนนี้ขึ้นเพื่อเอื้อถึงประโยชน์ที่จะได้รับคือ ศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้ จริงหรือไม่ การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ ส่วนประกอบของต้นตะไคร้ เรื่องราก ท่อลำเลียงน้ำ ท่อลำเลียงอาหาร ประโยชน์ของต้นตะไคร้ ช่วยส่งเสริมการปลูกต้นตะไคร้ในท้องถิ่น

๑.๒ วัตถุประสงค์
          ๑.๒.๑ เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา เปรียบเทียบ การใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืน
          ๑.๒.๒ เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเรื่องการขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ
          ๑.๒.๓ เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเรื่องส่วนประกอบของต้นตะไคร้
          ๑.๒.๔ เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเรื่องราก ท่อลำเลียงน้ำ ท่อลำเลียงอาหาร
          ๑.๒.๕ เพื่อช่วยส่งเสริมการปลูกต้นตะไคร้ในท้องถิ่น
          ๑.๒.๖ เพื่อให้นักเรียนได้ทราบถึงประโยชน์ของต้นตะไคร้

๑.๓ สมมติฐาน
          ศึกษา เปรียบเทียบ การใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืน
                   ตัวแปรต้น  การใช้กะปิ คาราบาวแดง สูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป
          ตัวแปรตาม การเร่งการออกรากของต้นตะไคร้
                   ตัวแปรควบคุม ตะไคร้ชนิดเดียวกัน จำนวนต้นตะไคร้ ขวดโหลทดลองที่ใส่เหมือนกัน

๑.๔ ขอบเขตของการทำโครงงาน
ทดสอบการทดลอง การศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืน ณ โรงเรียนบ้านโนนเสถียร

๑.๕ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑.๕.๑ นักเรียนได้ศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืน
๑.๕.๒ นักเรียนได้ศึกษาเรื่องการขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ
๑.๕.๓ นักเรียนได้ศึกษาเรื่องส่วนประกอบของต้นตะไคร้
          ๑.๕.๔ นักเรียนได้ศึกษาเรื่องราก ท่อลำเลียงน้ำ ท่อลำเลียงอาหาร
          ๑.๕.๕ ช่วยส่งเสริมการปลูกต้นตะไคร้ในท้องถิ่น
๑.๕.๖ นักเรียนได้ทราบถึงประโยชน์ของต้นตะไคร้

         


























บทที่ ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

๒.๑ ตะไคร้
          ตะไคร้ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cymbopogon citratus); ชื่อท้องถิ่น: จะไคร (ภาคเหนือ), หัวซิงไค (ภาคอีสาน), ไคร (ภาคใต้), คาหอม (แม่ฮ่องสอน), เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ ๔-๖ ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย
ถิ่นกำเนิด
          ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย ในทวีปอเมริกาใต้ และคองโก
          ลักษณะโดยทั่วไป โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น ๖ ชนิด ได้แก่
          ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้หางนาค ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางสิงห์ ตะไคร้หอม
เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง ๑ เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ ๔-๗ เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป
การปลูกและขยายพันธุ์
          ปลูกได้การปักชำต้นเหง้า โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนประมาณหนึ่งคืบ นำมาปักชำไว้สักหนึ่งสัปดาห์ก็จะมีรากงอกออกมา แล้วนำไปลงแปลงดินที่เตรียมไว้ หรืออาจใช้วิธีเอาโคนปักลงไปที่ดินซึ่งเตรียมไว้เลย ให้ห่างประมาณหนึ่งศอก ถ้าปลูกในกระถางใช้วิธีปักโคนลงในกระถางๆ ละ ๒-๓ ต้นก็ได้ หมั่นรดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตั้งไว้ให้โดนแดดตลอดวันจะทำให้โตได้เร็ว ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด ดูแลรดน้ำเสมอและโดนแดดได้ตลอดวัน เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด เวลาจะใช้ก็ให้ตัดที่โคนสุดส่วนรากเลย แล้วถอนออกมาทั้งต้นตามต้องการ ต้องคอยตรวจดูเมื่อตะไคร้มีกอเจริญเติบ
โตได้เต็มที่แล้ว ต้องถอนทิ้งหรือแยกออกไปปลูกใหม่บ้างหรือเอาไปใช้บ้าง จะนำมาหั่นเป็นฝอยๆ ตากลมไว้ให้แห้งสนิทแล้วแพ็คเก็บไว้ใช้ได้นานๆ เพื่อให้ต้นอ่อนโตขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่แยกออกไปต้นจะเล็กและลีบลงเรื่อยๆ และบางที่ก็แคระแกร็น ต้นและกอก็จะโทรม ต้องล้างและปลูกใหม่ทั้งหมดเปลี่ยนเป็นการแตกหน่อทำให้การปลูกและการขยายพันธ์ได้ง่าย
ประโยชน์
          ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆ จะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมาก ๆ
สรรพคุณ : ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสดๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย
๒.๒ กะปิ
          กะปิ เป็นเครื่องปรุงรสอย่างหนึ่งที่แพร่หลายในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนใต้ของประเทศจีนในประเทศไทย มีกะปิมากมายหลายชนิดให้เลือกรับประทาน กะปิแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน ทั้งคุณภาพ วัตถุดิบ กรรมวิธีผลิต ตามแต่ท้องถิ่นนั้นๆ โดยส่วนใหญ่ทำจากกุ้งเคย ซึ่งมีมากในแทบชายฝั่งทะเลอันดามัน จึงทำให้มีการผลิตกะปิในหลายๆ แห่ง ในพื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเล
ประวัติ
กะปิ คิดขึ้นโดยชาวประมง ที่ต้องการจะดองกุ้งที่จับมาได้เพื่อเอาไว้รับประทานได้ในระยะเวลานานๆ หรือ อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งกล่าวว่าเนื่องจากไม่สามารถขายกุ้งได้หมด จึงทำการดองเอาไว้ ไม่ว่าข้อสันนิษฐานจะเป็นอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงคือ กะปิเป็นตำรับอาหารของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในปัจจุบัน กะปิกลายมาเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมอาหาร และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนต่างๆ จากการผลิตกะปิขาย
เคย: กะปิ
ภาคใต้ของไทยเรียกกะปิว่าเคย มี ๓ แบบด้วยกันคือ
เคยกุ้ง เป็นการหมักเกลือกับกุ้งเคยไว้ ๑ คืน แล้วนำไปตากแดด นำมาบดหรือโม่ให้ละเอียด แล้วตากแดดอีกครั้ง จากนั้นจึงนำไปใส่เข่งหรือตะกร้าที่มีใบตองรองอีก ๗ วัน แล้วจึงเก็บไว้รับประทาน
เคยปลา เป็นกะปิที่ทำมาจากปลาน้ำจืด ที่มีชื่อเสียงคือเคยปลาจากทะเลน้อย การทำเหมือนเคยกุ้ง โดยตัดหัวปลาและขอดเกล็ดออกก่อนหมักกับเกลือ เคยกุ้งหวาน ทำเหมือนเคยกุ้ง แต่ตำให้ละเอียดแล้วตากแดดสามครั้ง ครั้งสุดท้ายตำรวมกับน้ำตาลแว่น (วิกิพีเดีย,๒๕๖๑)
กะปิเร่งรากมะนาว
การใช้กะปิช่วยเร่งการแตกรากในการตอนกิ่ง ภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับการนำกะปิมาทำเป็นสารละลาย ใช้เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช  แต่เกษตรกรไม่ได้ใช้กันแพร่หลาย เพราะความเข้าใจที่ว่า ฮอร์โมนเร่งรากพืชที่ทำมาจากสารเคมี น่าจะเร่งรากพืชได้ดีกว่า และยังขาดข้อมูลที่แน่นอน จากงานงานวิจัยทดลองออกมาหลายครั้ง เบื้องต้น พบว่า สารละลายน้ำกะปิสามารถใช้แทนฮอร์โมนเร่งรากพืชจากสารเคมีได้จริง  เนื่องจากในกะปิมีสารอินโดล ที่ได้จากการหมักกุ้งที่ใช้ทำกะปิ สารอินโดลนี้มีรูปร่างโมเลกุลคล้ายกับ สารออกซิน (อินโดลอะซิติกแอซิด) ของน้ำยาเร่งราก นั่นเอง ดังนั้นการใช้กะปิก็สามารถเร่งการเกิดรากได้    หรือบางตำราก็ว่า เนื่องจากในกะปิจะใช้กุ้งหรือเคยมาทำ ในตัวของกุ้งหรือเคยจะมีสารที่เรียกว่า Kinetin ในส่วนของเปลือกหรือผิวกุ้งที่เราเห็นเป็นสีแดงเมื่อโดนความร้อน สาร Kinetin เป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนที่เรียกว่าไคโตซาน ซึ่งจะมีผลต่อการขยายของเซลล์จึงทำให้ต้นพืชที่ได้รับสารนี้มีการแบ่งเซลล์ที่มากขึ้น จึงเกิดรากในจำนวนที่เพิ่มขึ้นเมื่อนำไปใช้กับการตอนกิ่ง(สวนมะนาวสุภิษะฟาร์ม,๒๕๕๘)
๒.๓ M 150
น้ำตาลซูโครส ๒๕ ก.เทารีน ๐.๐๘ ก.กาเฟอีน ๐.๐๕ ก.
ไนอะซินาไมด์ ๒๐ มก.แพนโทธินอล ๕ มก.วิตามิน บี ๖ ๕ มก.(loolhin,๒๕๖๑)
M150 จัดเป็นเครื่องดื่มชูกำลัง มีส่วนผสมของน้ำตาล และวิตามินสำคัญหลายตัว ที่มีสรรพคุณช่วยเร่งการเจริญเติบโตได้ (เกษตรพอเพียง,๒๕๕๕)
๒.๔ คาราบาวแดง
ทอรีน ๘๐๐ มก.แคฟเฟอีน ๕๐ มก.อินโนซิทอล ๓๐ มก.นิโคตินาไมด์ ๒๐ มก.เด็กซ์แพนธินอล ๕ มก.
วิตามิน บี ๖ ๕ มก.วิตามิน บี ๑๒ ๕ มคก.น้ำตาลซูโครส ๒๖.๕ ก.ซิตริคแอซิค ๐.๙๙ ก.(loolhin,๒๕๖๑)
คาราบาวแดง จัดเป็นเครื่องดื่มชูกำลัง มีส่วนผสมของน้ำตาล และวิตามินสำคัญหลายตัว ที่มีสรรพคุณช่วยเร่งการเจริญเติบโตได้ (เกษตรพอเพียง,๒๕๕๕)
๒.๕ ผงชูรส
โมโนโซเดียมกลูตาเมต (อังกฤษ: monosodium glutamate) มักเรียกกันว่า ผงชูรส วัตถุเจือปนอาหารประเภทวัตถุปรุงแต่งรสอาหารที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โมโนโซเดียมกลูตาเมตมีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาวไม่มีกลิ่น มีคุณสมบัติในการเป็นสารเพิ่มรสชาติอาหาร ทำให้อาหารมีรสชาติโดยรวมดีขึ้น เนื่องจากเมื่อโมโนโซเดียมกลูตาเมตละลายน้ำ จะแตกตัวได้โซเดียมและกลูตาเมตอิสระที่มีสมบัติในการเพิ่มรสชาติอาหาร โดยช่วยเพิ่มรสชาติของรสชาติพื้นฐาน ๔ รสที่เรารู้จักกันดีคือ รสหวาน รสเค็ม รสเปรี้ยว และรสขม ให้เด่นชัดมากขึ้น ในการศึกษาทางเภสัชวิทยาเกี่ยวกับรสชาติพบว่าผงชูรสสามารถกระตุ้น Glutamate Receptor แล้วทำให้เกิดรสชาติเฉพาะตัวที่เรียกว่ารสอูมามิ (Umami) ซึ่งเป็นรสที่ ๕ ที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้และมีเอกลักษณ์แตกต่างจากรสชาติพื้นฐานทั้ง ๔
โมโนโซเดียมกลูตาเมตเป็นสารประกอบประเภทกลูตาเมตซึ่งเป็นเกลือของ กรดกลูตามิก (Glutamic acid) อันเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนทั่วไป เช่น โปรตีนในเนื้อสัตว์ โปรตีนในนม และโปรตีนในพืช โดยกลูตาเมตจะจับอยู่กับกรดอะมิโนตัวอื่นๆ เกิดเป็นโครงสร้างของโปรตีน กลูตาเมตที่อยู่ในรูปของโปรตีนจะไม่มีกลิ่นรสและไม่มีคุณสมบัติทำให้เกิดรสอูมามิในอาหาร แต่เมื่อเกิดการย่อยสลายของโปรตีน เช่น เกิดกระบวนการหมัก การบ่ม การสุกงอมของผักและผลไม้ การทำให้สุกด้วยความร้อน จะทำให้กลูตาเมตในโปรตีนเกิดการสลายแยกตัวออกมาเป็นกลูตาเมตอิสระ ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดรสอูมามิในอาหาร นอกจากนี้ ยังได้มีการค้นพบว่าสารที่เกิดจากการย่อยสลายไรโบนิวคลีโอไทด์ในนิวเคลียสของเซลล์สิ่งมีชีวิตซึ่งได้แก่ ไอโนซิเนต(Inosinate) และกัวไนเลต(Guanylate) ก็มีคุณสมบัติให้รสอูมามิเช่นเดียวกับกลูตาเมตอิสระ ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าไอโนซิเนตและกัวไนเลตมีคุณสมบัติในการเสริมรสอูมามิให้เด่นชัดมากขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับกลูตาเมต โดยผลการเสริมกันนี้มีลักษณะแบบ Synergistic Effect
๒.๖ นมเปรี้ยว
          นมเปรี้ยว หรือ โยเกิร์ต (อังกฤษ: yoghurt, yogurt, yoghourt (ภาษาอังกฤษใช้คำนี้เรียกรวมๆ ทั้งนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต)) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนมสด นมพร่องมันเนย หรือ นมถั่วเหลือง โดยการใช้แบคทีเรีย แลคโตบาซิลัส เอซิโดซิส และสเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส เป็นหลักใส่ลงไปหมักผลิตภัณฑ์นมต่างๆ แบคทีเรียเหล่านี้ช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมให้เป็นกรดแลคติค ทำให้มีภาวะกรดและมีรสเปรี้ยวโดยมีความเป็นกรด-เบสอยู่ระหว่าง ๓.๘-๔.๖ นมเปรี้ยว มี ๒ ชนิด คือ ชนิดแรกเป็นนมเปรี้ยวที่มีลักษณะเป็นน้ำคล้ายเครื่องดื่ม อีกชนิดหนึ่งเป็นนมเปรี้ยวที่มีลักษณะเหลวข้นที่เรียกว่า โยเกิร์ต
ประโยชน์
          นมเปรี้ยวเป็นอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการดีกว่านมสด เช่น โปรตีนเคซีนในนมเปรี้ยวจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่อร่างกายได้ดีกว่า เพราะย่อยสลายได้ง่ายกว่า ดร.โยชิโร ชิมาซากิ ศึกษาว่าการกินนมเปรี้ยวที่มีกรดน้ำนมจะช่วยรักษาอนามัยปาก ป้องกันไม่ให้เป็นรำมะนาด (วิกิพีเดีย,๒๕๖๑)
๒.๗ ซีอิ๊วดำ
          Fermented soy sauce หมายถึงซอสชนิดหนึ่ง เรียกโดยทั่วไปว่าซีอิ้ว เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้จากการหมัก (fermentation) มีวัตถุดิบหลักคือ ถั่วเหลือง (soybean) ซีอิ๊วเป็นเครื่องปรุงรส (condiment) ทีใช้ปรุงแต่งรสอาหาร หรือใช้จิ้มอาหารโดยเสริฟพร้อมอาหารชนิดต่างๆ บนโต๊ะอาหาร ที่นิยมใช้อย่างกว้างขวาง มีกำเนิดมาจากประเทศในแถบเอเซีย เช่น จีนและญี่ปุ่น ปัจจุบันแพร่หลายและเป็นที่นิยมทั่วโลก
fermented soy sauce
ซีอิ๊วหมักที่ผลิตในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ
          ๑. ซีอิ๊วขาว หมายถึงซีอิ๊วที่ไม่ได้แต่งรสและสี
          ๒. ซีอิ๊วดำเค็ม หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำซีอิ๊วขาวมาเก็บต่อตามกรรมวิธีผลิตเพื่อให้ได้ความเข้มข้นและสีตามกำหนด
          ๓. ซีอิ๊วดำ หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากซีอิ๊วขาวผสมกับสารให้ความหวานในอัตราส่วนที่พอเหมาะจนกระทั่งได้ความหวานและความเค็มตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
          ๔.ซีอิ๊วหวาน หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากซีอิ๊วขาวในปริมาณน้อยผสมกับสารให้ความหวานจนได้ความหวานตามเกณฑ์ที่กำหนด (ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์,๒๕๖๑)
๒.๘ ไข่แดง
          ไข่แดง เป็นส่วนประกอบของไข่ โดยอยู่ภายในเปลือกไข่ ประกอบด้วยสารอาหารไว้ใช้เลี้ยงตัวอ่อน เมื่อรวมกับไข่ขาวจะเป็นเซลล์เดียวจนกว่าจะมีการปฏิสนธิ
คุณค่าทางโภชนาการ
          ไข่แดงประกอบด้วยน้ำ โปรตีน และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินบี ๑ รวมทั้งสารโคลีนที่มีส่วนช่วยพัฒนาสมองและเสริมสร้างความจำ สารลูทีนและซีแซนทีนที่มีประโยชน์ ช่วยบำรุงประสาทตา ในไข่แดงยังมีไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว มีคุณค่าใกล้เคียงกับไขมันปลาทะเล มีกรดไขมันโอเมกา-๓ ที่จำเป็นต่อการทำงานของสมองและเนื้อเยื่อตา รวมถึงกรดโอเมก้า ๖ และกรดอะราคิโดนิก (ARA) ที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทและการทำงานของระบบประสาทตาทว่าไข่แดงยังมีคอเลสเตอรอล ที่ไม่พบในไข่ขาว ซึ่งเดิมทีมีการห้ามรับประทานไข่แดงในปริมาณมาก เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด แต่ในงานวิจัยภายหลังพบว่า คลอเรสเตอรอลในไข่มีผลทำให้คลอเรสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ดี สมาคมหัวใจอเมริกา (AHA) แนะนำว่า ไม่ควรรับประทานไข่ไก่เกินวันละหนึ่งฟอง เพราะไข่ไก่หนึ่งฟองมีคอเลสเตอรอลเกินกว่า ๒๐๐ มิลลิกรัม และสำหรับผู้เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง หรือโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ควรรับประทานไข่ไก่เกิน ๓ ฟองต่อสัปดาห์น้ำมันไข่แดงสามารถได้จากการสกัดน้ำมันทิ้งออกไปให้หมด แล้วจะมีการสร้างเซลล์ขึ้นแล้วก็ทำให้เป็นปฎิสนธิ ทำให้อสุจิเข้าไปในไข่ขาวจนเลี่ยน น้ำมันที่สกัดจากไข่แดงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายสถาน ในศตวรรษที่ ๑๑ มีการนำไข่แดงมาเป็นส่วนประกอบในการผลิตเครื่องประทินผิว เพราะไข่แดงช่วยบำรุงให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น ลดอาการผิวแห้งตึง นอกจากนี้ ยังมีการนำน้ำมันไข่แดงผสมกับน้ำมันสกัด จากต้นชา ใช้ลดสิวเสี้ยน และกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว
ในการแพทย์แผนโบราณของกรีก อินเดีย ญี่ปุ่นและจีน มีการนำน้ำมันไข่แดงมาทำเป็นครีมนวด หรือครีมหมักผม รักษาอาการผมร่วง ผมแตกปลาย ป้องกันรังแค ช่วยให้ผมดกดำ นิ่มเป็นเงางาม ในสเปน ในแคว้นอันดาลูซีอาโบราณ มีการนำน้ำมันไข่แดงมาผสมกับน้ำมันละหุ่ง น้ำมันกุหลาบ เพื่อรักษาอาการหิด
ทางแพทย์แผนจีน มีการใช้น้ำมันไข่แดงเพื่อรักษาอาการผิวหนังพุพอง ไหม้ อักเสบ แผลร้อนในปาก ช่วยฟื้นฟูผิวให้กลับคืนสู่สภาพ สมบูรณ์ และยังช่วยบำรุงรากผม รักษาอาการติดเชื้อราที่หนังศีรษะ การติดเชื้อในช่องจมูก และโรคริดสีดวงทวารด้วย (วิกิพีเดีย,๒๕๖๐)
๒.๙ การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การสืบพันธุ์แบบอาศัยไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธุ์พืช
พืชนอกจากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งเป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศแล้วยังสามารถสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual   reproduction)  เช่น
                ๑.  การขยายพันธุ์ด้วยลำต้น  เช่นพืชที่มีลำต้นใต้ดินทำหน้าที่สะสมอาหาร  ได้แก่   ขิง  ข่า  ขมิ้น  แห้ว  เผือก  หอม  กระเทียม  มันฝรั่ง    ว่านสี่ทิศ
                ๒.  การขยายพันธุ์ด้วยกิ่ง โดยการปักชำ   ตอน  ติดตา  ทาบกิ่ง  หรือเสียบยอด  เช่น ชบา  พู่ระหง  มะละ  โกสน  กุหลาบ  พุทรา  มะม่วง  ดาวเรือง  ฤาษีผสม
                ๓.  การขยายพันธุ์ด้วยราก  มักเป็นรากชนิดที่สะสมอาหาร เช่น  มันเทศ
                ๔.  การขยายพันธุ์ด้วยใบ   เช่นใบคว่ำตายหงายเป็น  ใบต้นทองสามย่าน ใบของต้นโคมญี่ปุ่น
วิธีการขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ
                ๑. การปักชำหรือการตัดชำ (cutting  หรือ  cottage) กิ่งหรือรากที่ใช้ต้องไม่อ่อนหรือแก่เกินไปใช้มีดหรือกรรไกรตัดแต่งคมๆ  ตัดกิ่งออกเป็นท่อนๆ  ยาวประมาณ  ๑๐-๒๐  ซม.  โดยตัดให้เป็นปากฉลามใต้ตา  เอาใบออกหมด  แล้วนำไปชำในกระบะชำ  โดยปักให้เอียง  ๔๕ – ๗๐ องศา  และลึก ๑ ใน ๓ ของกิ่ง นำกระบะชำไปวางในเรือนเพาะชำรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ  เมื่อกิ่งชำหรือรากชำมีรากพอสมควรก็แยกไปปลูกต่อไป  ในการชำนั้นถ้าใช้ฮอร์โมน เช่น เซราดิกซ์ (seradix)  เร่งก็จะทำให้งอกรากได้เร็วขึ้น
                การยายพันธุ์โดยการชำนี้ใช้ได้ทั้งไม้ผลและไม้ดอกไม้ประดับ ที่นิยมกัน คือ ส้ม  ชมพู่  กุหลาบ   เฟืองฟ้า โกสน  ชบา  มะลิ  อ้อย  สาเก
                ๒.  การตอน (marcotting) การตอนไม้ผลจะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพเหมือนต้นแม่ทุกประการ  เพราะมียีนชุดเดียวกัน ไม่มีการกลายพันธุ์  ให้ผลเร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด  แต่มีข้อเสียตรงที่กิ่งตอนไม่มีรากแก้ว ถ้าลมแรงหรือดินอ่อน  อาจล้มโค่นง่าย  ทำให้ต้นไม้มีอายุสั้นกว่าการปลูกด้วยเมล็ด
                ๓.  การติดตา (budding)  ประกอบด้วย
                ต้นตอ  ต้นตอควรเป็นต้นที่มีความแข็งแรงสมบูรณ์ต้านทานสภาพดินฟ้า  อากาศ และโรคได้ดี   ไม่เป็นที่แก่หรืออ่อนจนเกินไป  ต้องลอกเปลือกออกง่ายเมื่อผ่าเปลือกต้นตอ
                ต้นพันธุ์  ต้นพันธุ์ดีที่มีตาสมบูรณ์  ตาดีและสมบูรณ์หาได้มากในฤดูฝน ตาดีต้องมาจากกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปและตาต้องแตกใหม่ๆ  ใช้มีดคมๆ ปาดตาให้บางๆ ให้เนื้อไม้ติดไปกับตาน้อยที่สุดและเอาเนื้อไม้ที่ติดมาด้วยทิ้งเสียก่อน
               ๔. การทาบกิ่ง  (layering  หรือ  layerage) ประกอบด้วย
ต้นตอ  ของการทาบกิ่งมีลักษณะทั่วไปคล้ายต้นตอแบบติดตา
กิ่งพันธุ์  ควรมีขนาดเท่าๆ กับต้นตอ กิ่งพันธุ์นี้ต้องเป็นพันธุ์ดีให้ผลดกและขนาดสม่ำเสมอ  รสดี
เมื่อเลือกกิ่งพันธุ์และต้นตอได้แล้ว  นำต้นตอและกิ่งพันธุ์มาเทียบกัน  ปาดต้นตอและกิ่งพันธุ์ให้เป็นแผลขนาดพอเหมาะและเท่าๆ กัน นำแผลทั้งสองมาทาบกันให้สนิทพอดี  ใช้เชือกหรือพลาสติกมัดติดกันให้แน่นตลอดแผลที่ปาดเมื่อทาบติดแล้ว  ใช้มีดคมๆ หรือกรรไกรตัดยอดต้นตอทิ้งได้เลย  ถ้าหากชำนาญแล้วอาจตัดยอดต้นตอทิ้งตอนแรกเลยก็ได้  การที่ไม่ตัดเลยก็เพื่อไม่ให้เสียต้นตอในกรณีทาบไม่ติด
              ๕. การต่อกิ่งหรือเสียบกิ่ง  (grafting) ซึ่งอาจต่อแบบปะ  ต่อแบบปากฉลาม  ต่อแบบเสียบข้างและต่อแบบลิ่ม  ในการต่อกิ่งหรือเสียบกิ่ง ประกอบด้วย
ต้นตอ  ของการต่อกิ่ง มีลักษณะเช่นเดียวกับต้นตอการติดตา
กิ่งต่อ  ควรเลือกกิ่งที่มียอดที่เจริญจวนจะผลิใบอ่อนออกมาใหม่และกิ่งต่อต้องไม่อ่อนหรือแก่เกินไป  กิ่งต่อต้องเป็นพันธุ์ดี เช่นเดียวกับกิ่งพันธุ์ของการทาบกิ่ง  และมีขนาดเล็กกว่าต้นตอเล็กน้อย
                วิธีการต่อกิ่ง  โดยตัดยอดต้นตอออกใช้มีดผ่าต้นตอให้เป็นร่องลึก  ๑ – ๒ นิ้ว กิ่งต่อที่เตรียมไว้นำมาปาดให้เป็นรูปลิ่มเสียบกิ่งต่อเข้าไปในแผลที่ผ่าไว้ให้สนิทกันพอดี เพื่อกันไม่ให้เคลื่อนหรือโยกไปมาได้  เพราะถ้าหากเคลื่อนได้จะทำให้ไม่ติดหรือไม่ประสานกันต่อจากนั้นใช้พลาสติกพันตามรอยแผลและพันให้เลยขึ้นไปเหนือกิ่งต่อเล็กน้อย  ต้องพันให้แน่นและแข็งแรงเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปในแผลที่ต่อกิ่ง
              ๖. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  (tissue  culture)  การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นการขยายพันธุ์ที่มีประโยชน์มาก คือ
                   ๖.๑. สามารถขยายพันธุ์พืชได้ในปริมาณมากและรวดเร็วโดยใช้พืชเริ่มต้นเพียงเล็กน้อย
                   ๖.๒  พืชใหม่ที่ได้มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมไม่กลายพันธุ์
                   ๖.๓  ใช้ได้ดีในพืชเศรษฐกิจหรือพืชปกติที่ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ยาก
เทคนิควิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีข้อจำกัด  คือ  ต้องใช้บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญมากเป็นพิเศษ  ต้องใช้เครื่องมือ  สารเคมี  อุปกรณ์ต่างๆ  และวิธีการที่ยุ่งยากละเอียดอ่อนจึงยังไม่แพร่หลายมากนัก (ธนกร,๒๕๖๑)
๒.๑๐ ราก
          คือ อวัยวะหรือส่วนของพืชที่ไม่มี ข้อ ปล้อง ตา และใบ เจริญลงสู่ดินตามแรงดึงดูดของโลก มีกำเนิดมาจาก radicle ของ embryo ซึ่งอยู่ภายในเมล็ด  radicle  ที่งอกออกมานั้นต่อไปจะเจริญเติบโตยืดยาวออก
รากแก้ว ( primary root หรือ tap root ) รากแก้วนี้สามารถแตกแขนงออกไปอีกมากมายเป็น
รากแขนง ( secondary root หรือ lateral root ) รากของพืชบางอย่างอาจไม่ลงสู่ใต้ดิน แต่ห้อยแขวนหรืออาศัยเกาะพันกับสิ่งอื่นคล้ายกับลอยอยู่ในอากาศ เรียกว่า  รากอากาศ ( aerial root) รากอากาศของพืชบางอย่างอาจจะมีสีเขียว แต่รากพืชโดยทั่วๆ ไปแล้วไม่มีสีเขียว
พืชใบเลี้ยงคู่มีระบบรากแก้ว ( tap root system ) โดยมีรากแก้วเป็นหลักมีขนาดใหญ่กว่ารากอื่นๆ และมีรากแขนงแตกออกจากชั้น pericycleของรากแก้ว ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีระบบรากฝอย ( fibrous root system ) ซึ่งประกอบด้วยรากที่มีขนาดใกล้เคียงกัน มีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆแผ่กระจายออกไปโดยรอบ
หน้าที่ของราก
      รากมีหน้าที่หลักที่สำคัญ คือ
          ๑.  ดูด ( absorption ) น้ำและแร่ธาตุที่ละลายน้ำจากดินเข้าไปในลำต้น
          ๒.  ลำเลียง ( conduction ) น้ำและแร่ธาตุรวมทั้งอาหารซึ่งพืชสะสมไว้ในรากขึ้นสู่ส่วนต่างๆของลำต้น
          ๓.  ยึด ( anchorage ) ลำต้นให้ติดกับพื้นดิน
          ๔.  แหล่งสร้างฮอร์โมน ( producing hormones ) รากเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตฮอร์โมนพืชหลาย
ชนิด เช่น ไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน ซึ่งจะถูกลำเลียงไปใช้เพื่อการเจริญพัฒนาของส่วนลำต้น ส่วนยอด และส่วนอื่นๆของพืช นอกจากนี้ยีงมีรากของพืชอีกหลายชนิดที่ทำหน้าที่พิเศษอื่นๆ เช่น สะสมอาหาร  สังเคราะห์แสง  ค้ำจุน  ยึดเกาะ  หายใจ  เป็นต้น
๒.๑๑ ลำเลียงน้ำ ลำเลียงอาหารในพืช
การลำเลียงน้ำในพืช
                พืชจะดูดน้ำและแร่ธาตุที่บริเวณปลายรากและจะถูกลำเลียงไปโดยท่อลำเลียงน้ำ  ซึ่งพืชจะมีเนื้อเยื่อลำเลียงอยู่ 2 กลุ่มคือ  ไซเลม ( Xylem )  เป็นเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ  และโฟลเอม ( Phloem )  เป็นเนื้อเยื่อลำเลียงอาหารที่พืชสร้างขี้นโดยเนื้อเยื่อทั้งสองจะประกอบกันเป็นกลุ่มเนื้อเยื่อลำเลียงที่พบทั้งในราก  ลำต้น  กิ่ง  ใบอย่างต่อเนื่องกัน
                โครงสร้างของรากและกระบวนการในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ
                ๑. ขนราก ( Root  Hair)  อยู่เหนือปลายรากเล็กน้อย  มีลักษณะเป็นขนเส้นเล็กเป็นฝอยจำนวนมากอยู่รอบปลายราก  เป็นโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงมากจากเซลล์ผิวนอกสุดของราก  โดยผนังเซลล์ของแต่ละเซลล์จะยืดยาวออกไป  การที่ขนรากมีจำนวนมากก็เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการสัมผัสน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆในดินได้มากขึ้น  ช่วยให้การดูดน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
                ๒. กระบวนการดูดน้ำและแร่ธาตุ  พืชจะดูดน้ำและแร่ธาตุทางขนราก  โดยจะดูดน้ำด้วยวิธีการออสโมซีส ส่วนการดูดแร่ธาตุใช้วิธีการแพร่
การลำเลียงอาหารในพืช
                เมื่อพืชสังเคราะห์ด้วยแสงจะได้น้ำตาลกลูโคส    น้ำตาลกลูโคสจะถูกลำเลียงไปตาม   กิ่ง  ก้านและลำต้นผ่านทางกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงอาหารหรือโฟลเอม ( Phloem )  จากใบไปสู่ส่วนต่างๆ ของพืช  ที่กำลังมีการเจริญเติบโตและนำไปเก็บสะสมไว้ที่ราก   ลำต้น  โดยวิธีการแพร่
                การแพร่  คือการกระจายอนุภาคของสารจากที่มีความเข้มข้นของอนุภาคของสารมากไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของอนุภาคของสารน้อย
                การแพร่แบบออสโมซิสคือ  การแพร่ของน้ำหรือของสารผ่านเยื่อกั้นบางๆ (ครูเจน,๒๕๖๑)
๒.๑๒ เอกสารโครงงานที่เกี่ยวข้อง
          การศึกษาผลของกะปิเครื่องดื่มชูกำลังและวิตามินบี ๑ ต่อการเร่งรากของกิ่งปักชำมะนาว โดยการใช้ขุย มะพร้าวเป็นวัสดุปักชำ ดำเนินการวิจัยที่บ้านเลขที่ ๔๓๕/๔๘ หมู่บ้านจิระนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ๓๑๐๐๐ ระหว่างวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๕ ถึง วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ วางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (CRD : Completely Randomized Design) จำนวน ๒ วิธีการทดลอง จำนวน ๕ ซ้ำ ดังนี้ ๑) วิตามินบี ๑ ยี่ห้อ A ๒) วิตามินบี ๑ ยี่ห้อ B ๓) เครื่องดื่มชูกำลัง (คาราบาวแดง) ๔) การจุ่มในสารละลายกะปิ ๕) การป้ายกะปิ บันทึกจำนวนรากและความ ยาวของราก หลังการปักชำกิ่งมะนาว ๓๐ วัน จากนั้นทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี DMRT จากผลการทดลองพบว่าการใช้ วิตามินบี1 ทั้งสองยี่ห้อ คาราบาวแดง และกะปิทำให้จำนวนรากและความยาว ของรากของกิ่งปักชำมะนาวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ(p๐.๐๕) เมื่อใช้ วิตามินบี ๑ ทั้งสองยี่ห้อและการใช้กะปิโดยวิธีการป้ายที่กิ่งปักชำนั้น อาจ กล่าวได้ว่าสามารถใช้กะปิซึ่งมีราคาถูกกว่าทดแทนการใช้วิตามินบี ๑ ในการเร่งรากกิ่งปักชำมะนาวได้



บทที่ ๓
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ
๓.๑ วัสดุอุปกรณ์
๓.๑.๑ ต้นตะไคร้ตัดราก                                                   จำนวน ๑๒๐ ต้น
๓.๑.๒ กะปิ                                                                จำนวน ๑ กระปุก
๓.๑.๓ M ๑๕๐                                                            จำนวน ๓ ขวด
๓.๑.๔ คาราบาวแดง                                                      จำนวน ๑ ขวด  
๓.๑.๕ ผงชูรส                                                              จำนวน ๑ ซอง
๓.๑.๖ นมเปรี้ยว                                                           จำนวน ๑ ขวด
๓.๑.๗ ซีอิ๊วดำ                                                              จำนวน  ๑ ขวด
๓.๑.๘ ไข่แดง                                                               จำนวน ๑ ฟอง
๓.๑.๙ น้ำเปล่า                                                             จำนวน ๑๐ ลิตร
๓.๑.๑๐ บีกเกอร์ ขนาด ๒๕๐ มิลลิลิตร                                   จำนวน ๕ อัน
๓.๑.๑๑ จานเพาะเชื้อ                                                     จำนวน ๓ จาน  
๓.๑.๑๒ โหลพลาสติก ขนาด ๕ ลิตร                                      จำนวน ๖ ใบ    
๓.๑.๑๓ กระบอกตวง ขนาด ๑ ลิตร                                      จำนวน ๑ อัน   
๓.๑.๑๔ กระบอกตวง ขนาด ๕๐ มิลลิลิตร                               จำนวน ๒ อัน
๓.๑.๑๕ แท่งคนสาร                                                       จำนวน ๑ อัน
๓.๑.๑๖ ช้อนโต๊ะ                                                          จำนวน  ๒ คัน

๓.๒ วิธีการดำเนินการ
          ๓.๒.๑ เตรียมวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ในหัวข้อ ๓.๑ วางไว้บนโต๊ะทดลอง ส่วนที่เป็นน้ำเทใส่บีกเกอร์ ส่วนที่เป็นผง หรือของแข็งตักใส่จากเพาะเชื้อ
๓.๒.๒ โหลทดลองที่ ๑ คือ ใช้กระบอกตวงขนาด ๑ ลิตร เทน้ำลงตวงให้ได้น้ำ ๕๐๐ ลิตร แล้วนำลงไปเทในโหลทดลองที่ ๑
๓.๒.๓ โหลทดลองที่ ๒ คือ ตักกะปิ ๑ ช้อนโต๊ะ ใส่ในโหลทดลองที่ ๒ นำน้ำเทใส่ ๑๐๐ ลิตร ด้วยการใช้กระบอกตวงวัด นำแท่งคนสารมาคนให้กะปิกับน้ำละลายเข้ากัน แล้วใช้กระบอกตวงในเทใส่ลงไปอีก ๔๐๐ ลิตร
๓.๒.๔ โหลทดลองที่ ๓ คือ เทน้ำคาราบาวแดงลงไปในกระบอกตวงให้ได้ ๑๐๐ ลิตร จากนั้นเทลงไปในโหลทดลองที่ ๓ และเทน้ำลงไปในกระบอกตวงเปล่าให้ได้ ๔๐๐ ลิตร ใช้แท่งคนสารคนให้ละลายเข้ากัน
๓.๒.๕ โหลดทดลองที่ ๔ คือ ตักกะปิ ๑ ช้อนโต๊ะ ผงชูรส ๑ ช้อนโต๊ะ และเทน้ำ M๑๕๐ ลงไปในกระบอกตวง ๑๐๐ ลิตร ใส่ในโหลทดลองที่ ๔ คนให้เข้ากันด้วยแท่งคนสาร เทน้ำลงในกระบอกตวงอีก ๔๐๐ ลิตร คนให้เข้ากัน
๓.๒.๖ โหลทดลองที่ ๕ คือ ตักกะปิ ๑ ช้อนโต๊ะ ผงชูรส ๑ ช้อนโต๊ะ ไข่แดง ๑ ฟอง และเทนมถั่วเหลืองลงไปในกระบอกตวง ๑๐๐ ลิตร จากนั้นเทลงไปใส่ในโหลทดลองที่ ๕ ใช้แท่งคนสารคนให้เข้ากัน แล้วเทน้ำใส่กระบอกตวงให้ได้ ๔๐๐ ลิตร เทลงไปในโหลทดลองที่ ๕ เข้าให้เข้ากัน
๓.๒.๗ โหลทดลองที่ ๖ คือ ตักกะปิ ๑ ช้อนโต๊ะ ผงชูรส ๑ ช้อนโต๊ะ เทน้ำ M150 ลงไปในกระบอกตวง ๑๐๐ ลิตร ใส่ในโหลทดลองที่ ๖ เทนมเปรี้ยวใส่กระบอกตวง ๕๐ มิลลิลิตร ใส่ในโหลทดลองที่ ๖ เทซีอิ้วดำใส่กระบอกตวง ๕๐ มิลลิลิตร ใส่ในโหลทดลองที่ ๖ แล้วเทน้ำใส่กระบอกตวงให้ได้ ๔๐๐ ลิตร เทลงไปในโหลทดลองที่ ๖ เข้าให้เข้ากัน
๓.๒.๘ นำต้นตะไคร้ใส่ลงไปในโหลทดลองที่ ๑-๖ โหลละ ๒๐ ต้น แล้วแช่ทิ้งไว้ ๑ คืน แล้วเทน้ำที่โหลทดลองที่ ๑-๖ ออก เติมน้ำเปล่าเทใส่ลงไปในโหลทดลอง ที่ ๑-๖ ใหม่ โหลละ ๑ ลิตร
 ๓.๒.๙ เมื่อครบ ๓ คืนแล้ว ได้นำตะไคร้ โหลทดลองที่ ๑-๖ ออกมาล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วแยกไว้เป็นผลของโหลทดลองที่ ๑-๖
๓.๒.๑๐ ใช้ไหมพรมวัดรากทุกรากของต้นตะไคร้ แล้วนำไหมพรมมาวัดด้วยไม้บรรทัด บันทึกผลโดยใช้เกณฑ์ดังนี้
          - รากที่ยาวที่สุดของต้น ครบ ๒๐ ต้น นำมาหาความยาวรากเฉลี่ยของแต่ละโหลทดลองที่ ๑-๖
- ความยาวรากรวม ครบ ๒๐ ต้น นำมาหาความยาวรากเฉลี่ยของแต่ละโหลทดลองที่ ๑-๖
          - จำนวนรากเฉลี่ยของแต่ละโหลทดลองที่ ๑-๖
๓.๒.๑๑ บันทึกผลการทดลอง สรุปผลการทดลอง






























บทที่ ๔
ผลการดำเนินการ
จากการทดลอง ศึกษา เปรียบเทียบ การใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืน ซึ่งแบ่งวิธีการทดลองออกเป็น ๖ วิธี ทำเป็นโหลทดลองที่ ๑-๖ ณ โรงเรียนบ้านโนนเสถียร ปรากฏผลการทดลองดังนี้
ตารางที่ ๑ ตารางบันทึกผลการทดลอง โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ศึกษา เปรียบเทียบ การใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้

โหลทดลองที่/วิธีการทดลอง
จำนวนรากเฉลี่ย
(ราก)
รากยาวที่สุด
(เซนติเมตร)
รากยาวที่สุดเฉลี่ย
 (เซนติเมตร)
ความยาวรากรวมเฉลี่ย
(เซนติเมตร)
รวมผล


๑.น้ำเปล่า
๘.๕๓
๒๒
๒.กะปิ
๒๒.๗๓
๔๑
๓.คาราบาวแดง
๗.๗๗
๑๘
๔.กะปิ ผงชูรส M๑๕๐
๑๐
๕.กะปิ ผงชูรส ไข่แดง ถั่วเหลือง
๑๔
๖.กะปิ ผงชูรส M๑๕๐
นมเปรี้ยว ซีอิ้วดำ




         
จากตารางที่ ๑ ผลที่ได้จากการโหลที่ ๑ น้ำเปล่า จำนวนรากเฉลี่ย ๕ เซนติเมตร รากยากที่สุด ๕ เซนติเมตร รากยาวที่สุดเฉลี่ย ๓  เซนติเมตร ความยาวรากเฉลี่ยรวม ๘.๕๓ เซนติเมตร รวมผล ๒๒ เซนติเมตร  
          โหลที่ ๒ กะปิ จำนวนรากเฉลี่ย ๖ เซนติเมตร รากยากที่สุด ๘ เซนติเมตร รากยาวที่สุดเฉลี่ย ๔  เซนติเมตร ความยาวรากเฉลี่ยรวม ๒๒.๗๓ เซนติเมตร รวมผล ๔๑ เซนติเมตร
           โหลที่ ๓ คาราบาวแดง จำนวนรากเฉลี่ย ๔ เซนติเมตร รากยากที่สุด ๓ เซนติเมตร รากยาวที่สุดเฉลี่ย ๓  เซนติเมตร ความยาวรากเฉลี่ยรวม ๗.๗๗ เซนติเมตร รวมผล ๑๘ เซนติเมตร
           โหลที่ ๔ กะปิ ผงชูรส M๑๕๐ จำนวนรากเฉลี่ย ๓ เซนติเมตร รากยากที่สุด ๓ เซนติเมตร รากยาวที่สุดเฉลี่ย ๑ เซนติเมตร ความยาวรากเฉลี่ยรวม ๓ เซนติเมตร รวมผล ๑๐ เซนติเมตร
           โหลที่ ๕ กะปิ ผงชูรส ไข่แดง ถั่วเหลือง จำนวนรากเฉลี่ย ๓ เซนติเมตร รากยากที่สุด ๔ เซนติเมตร รากยาวที่สุดเฉลี่ย ๒  เซนติเมตร ความยาวรากเฉลี่ยรวม ๕ เซนติเมตร รวมผล ๑๔ เซนติเมตร  
          โหลที่ ๖ กะปิ ผงชูรส M๑๕๐ นมเปรี้ยว ซีอิ้วดำ จำนวนรากเฉลี่ย ๒ เซนติเมตร รากยากที่สุด ๔ เซนติเมตร รากยาวที่สุดเฉลี่ย ๑  เซนติเมตร ความยาวรากเฉลี่ยรวม ๒ เซนติเมตร รวมผล ๙ เซนติเมตร
รวมผล ในการออกรากของต้นตะไคร้ อันดับที่ ๑ กะปิ (โหลที่ ๒) อันดับที่ ๒ น้ำเปล่า (โหลที่ ๑) อันดับที่ ๓ เครื่องดื่มชูกำลัง (โหลที่ ๓) อันดับที่ ๔ กะปิ ผงชูรส ไข่แดง นมถั่วเหลือง (โหลที่ ๕) อันดับที่ ๕ กะปิ ผงชูรส M๑๕๐ (โหลที่ ๔) อันดับที่ ๖ กะปิ ผงชูรส M๑๕๐ นมเปรี้ยว ซีอิ้วดำ (โหลที่ ๖)
         




          ภาพที่ ๑ ตารางบันทึกผลการทดลอง โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ศึกษา เปรียบเทียบ การใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืน





ตารางที่ ๒ ตารางบันทึกผลการทดลอง โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ศึกษา เปรียบเทียบ การใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืน ใช้วิธีการทดลอง/โหลทดลอง ที่ ๑

ลำดับที่ต้นตะไคร้
จำนวนรากเฉลี่ย
(ราก)
รากยาวที่สุด
(เซนติเมตร)
ความยาวรากรวม
(เซนติเมตร)
๙.๖๐
๒.๕๐
๕.๐๐
๑๖.๔๐
๓.๗๐
๑๑.๙๐
๒.๔๐
๖.๗๐
๑๕.๖๐
๑.๙๐
๔.๒๐
๙.๔๐
๑.๔๐
๑.๘๐
๑๐
๑.๖๐
๓.๕๐
๑๑
๑๑
๓.๙๐
๒๖.๕๐
๑๒
๕.๘๐
๑๓
๑.๙๐
๗.๑๐
๑๔
๓.๙๐
๑๒.๑๐
๑๕
๕.๑๐
๑๖
๑.๗๐
๕.๖๐
๑๗
๓.๔๐
๖.๒๐
๑๘
๒.๓๐
๖.๘๐
๑๙
๖.๔๐
๒๐
๑.๙๐
๔.๘๐
รวม
๙๘
๖๐
๑๗๐.๕๐
รวมค่าเฉลี่ย
๘.๕๓
ค่าต่ำสุด
๑.๘๐
ค่าสูงสุด
๑๑
๒๖.๕๐
         
จากตารางที่ ๒ ผลที่ได้จากการทดลองโหลที่ ๑ น้ำเปล่า ผลปรากฏว่าจำนวนรากรวม ๙๘ เซนติเมตร จำนวนรากเฉลี่ย ๕ เซนติเมตร ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๒,๑๑ เซนติเมตร จำนวนรากยาวที่สุดรวม ๖๐ เซนติเมตร จำนวนรากยาวที่สุดเฉลี่ย ๓ เซนติเมตร ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๑,๔ เซนติเมตร ความยาวรากรวม ๑๗๐.๕๐ เซนติเมตร ความยาวรากรวมเฉลี่ย ๘.๕๓ เซนติเมตร  ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๑.๘๐,๒๖.๕๐ เซนติเมตร



ตารางที่ ๓ ตารางบันทึกผลการทดลอง โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ศึกษา เปรียบเทียบ การใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืน ใช้วิธีการทดลอง/โหลทดลอง ที่ ๒

ลำดับที่ต้นตะไคร้
จำนวนรากเฉลี่ย
(ราก)
รากยาวที่สุด
(เซนติเมตร)
ความยาวรากรวม
(เซนติเมตร)
๑๑
๓๕.๓๐
๔.๕๐
๒๓.๓๐
๒๐.๐๐
๒.๘๐
๒.๘๐
๒.๕๐
๖.๒๐
๑๐
๔.๕๐
๓๖.๓๐
๑๔
๕.๐๐
๕๕.๔๐
๑๒
๔.๕๐
๔๒.๘๐
๕.๐๐
๒๓.๓๐
๑๐
๖.๐๐
๓๑.๐๐
๑๑
๖.๐๐
๒๖.๕๐
๑๒
๖.๐๐
๔๔.๐๐
๑๓
๗.๕๐
๒๖.๓๐
๑๔
๔.๐๐
๑๒.๓๐
๑๕
๔.๕๐
๑๒.๐๐
๑๖
๔.๐๐
๖.๕๐
๑๗
๔.๐๐
๑๒.๘๐
๑๘
๔.๕๐
๗.๕๐
๑๙
๕.๕๐
๒๐
๔.๐๐
๒๔.๘๐
รวม
๑๒๒
๘๙
๔๕๔.๖๐
รวมค่าเฉลี่ย
๒๒.๗๓
ค่าต่ำสุด
๒.๘๐
ค่าสูงสุด
๑๔
๕๕.๔๐

จากตารางที่ ๓ ผลที่ได้จากการทดลองโหลที่ ๒ กะปิ ผลปรากฏว่าจำนวนรากรวม ๑๒๒ เซนติเมตร จำนวนรากเฉลี่ย ๖ เซนติเมตร ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๑,๑๔ เซนติเมตร จำนวนรากยาวที่สุดรวม ๘๙ เซนติเมตร จำนวนรากยาวที่สุดเฉลี่ย ๔ เซนติเมตร ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๒,๘ เซนติเมตร ความยาวรากรวม ๔๕๔.๖๐ เซนติเมตร ความยาว
รากรวมเฉลี่ย ๒๒.๗๓ เซนติเมตร  ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๒.๘๐,๕๕.๔๐ เซนติเมตร




ตารางที่ ๔ ตารางบันทึกผลการทดลอง โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องศึกษา เปรียบเทียบ การใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืน ใช้วิธีการทดลอง/โหลทดลอง ที่ ๓

ลำดับที่ต้นตะไคร้
จำนวนรากเฉลี่ย
(ราก)
รากยาวที่สุด
(เซนติเมตร)
ความยาวรากรวม
(เซนติเมตร)
๑.๓๐
๑.๓๐
๒.๕๐
๗.๗๐
๔.๖๐
๓.๕๐
๘.๑๐
๒.๔๐
๔.๑๐
๑.๕๐
๕.๖๐
๑.๔๐
๕.๓๐
๒.๐๐
๗.๗๐
๕.๒๐
๑๗.๒๐
๑๐
๓.๖๐
๑๓.๗๐
๑๑
๒.๗๐
๗.๐๐
๑๒
๕.๔๐
๒๐.๒๐
๑๓
๒.๖๐
๑๒.๒๐
๑๔
๓.๖๐
๔.๙๐
๑๕
๒.๗๐
๕.๒๐
๑๖
๓.๒๐
๑๑.๘๐
๑๗
๓.๙๐
๑๑.๐๐
๑๘
๑.๙๐
๓.๓๐
๑๙
๒.๐๐
๒๐
๒.๕๐
๒.๕๐
รวม
๘๑
๕๖
๑๕๕.๔๐
รวมค่าเฉลี่ย
๗.๗๗
ค่าต่ำสุด
ค่าสูงสุด
         
จากตารางที่ ๓ ผลที่ได้จากการทดลองโหลที่ ๓ เครื่องดื่มชูกำลัง ผลปรากฏว่าจำนวนรากรวม ๘๑ เซนติเมตร จำนวนรากเฉลี่ย ๔ เซนติเมตร ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๑,๔ เซนติเมตร จำนวนรากยาวที่สุดรวม ๕๖ เซนติเมตร จำนวนรากยาวที่สุดเฉลี่ย ๓ เซนติเมตร ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๑,๓ เซนติเมตร ความยาวรากรวม ๑๕๕.๔๐ เซนติเมตร ความยาวรากรวมเฉลี่ย ๗.๗๗ เซนติเมตร  ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๑,๘ เซนติเมตร


ตารางที่ ๕ ตารางบันทึกผลการทดลอง โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ศึกษา เปรียบเทียบ การใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืน ใช้วิธีการทดลอง/โหลทดลอง ที่ ๔

ลำดับที่ต้นตะไคร้
จำนวนรากเฉลี่ย
(ราก)
รากยาวที่สุด
(เซนติเมตร)
ความยาวรากรวม
(เซนติเมตร)
๑.๕๐
๓.๔๐
๓.๐๐
๗.๙๐
๐.๕๐
๑.๐๐
๒.๐๐
๓.๐๐
๒.๐๐
๔.๕๐
๐.๘๐
๑.๕๐
๒.๕๐
๘.๕๐
๑.๕๐
๓.๓๐
๑.๐๐
๑.๖๐
๑๐
๐.๖๐
๐.๖๐
๑๑
๑.๕๐
๓.๐๐
๑๒
๑.๕๐
๒.๘๐
๑๓
๑.๒๐
๑.๒๐
๑๔
๒.๐๐
๓.๔๐
๑๕
๑.๐๐
๒.๔๐
๑๖
๐.๘๐
๒.๕๐
๑๗
๑.๓๐
๓.๐๐
๑๘
๒.๐๐
๒.๐๐
๑๙
๑.๕๐
๑.๕๐
๒๐
๐.๕๐
๐.๕๐
รวม
๕๓
๒๙
๕๗.๖๐
รวมค่าเฉลี่ย
ค่าต่ำสุด
ค่าสูงสุด

จากตารางที่ ๕ ผลที่ได้จากการทดลองโหลที่ ๔ กะปิ ผงชูรส M๑๕๐ ผลปรากฏว่าจำนวนรากรวม ๕๓ เซนติเมตร จำนวนรากเฉลี่ย ๓ เซนติเมตร ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๑,๗ เซนติเมตร จำนวนรากยาวที่สุดรวม ๒๙ เซนติเมตร จำนวนรากยาวที่สุดเฉลี่ย ๑ เซนติเมตร ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๑,๓ เซนติเมตร ความยาวรากรวม ๕๗.๖๐ เซนติเมตร ความยาวรากรวมเฉลี่ย ๓ เซนติเมตร  ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๑,๙ เซนติเมตร



ตารางที่ ๖ ตารางบันทึกผลการทดลอง โครงงานวิทยาศาสตร์ ศึกษา เปรียบเทียบ การใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืน ใช้วิธีการทดลอง/โหลทดลอง ที่ ๕

ลำดับที่ต้นตะไคร้
จำนวนรากเฉลี่ย
(ราก)
รากยาวที่สุด
(เซนติเมตร)
ความยาวรากรวม
(เซนติเมตร)

๒.๔๐
๔.๔๐
๒.๗๐
๑๒.๔๐
๓.๒๐
๘.๐๐
๒.๕๐
๙.๙๐
๓.๕๐
๙.๑๐
๓.๐๐
๗.๕๐
๒.๙๐
๕.๙๐
๒.๕๐
๖.๖๐
๑.๗๐
๓.๙๐
๑๐
๐.๕๐
๐.๗๐
๑๑
๐.๙๐
๑.๓๐
๑๒
๑.๐๐
๑.๐๐
๑๓
๑.๕๐
๕.๘๐
๑๔
๑.๙๐
๒.๓๐
๑๕
๐.๘๐
๐.๘๐
๑๖
๒.๐๐
๓.๔๐
๑๗
๓.๒๐
๙.๑๐
๑๘
๒.๓๐
๕.๕๐
๑๙
๑.๐๐
๒.๐๐
๒๐
๑.๕๐
๑.๕๐
รวม
๖๕
๔๑
๑๐๑.๑๐
รวมค่าเฉลี่ย
ค่าต่ำสุด
ค่าสูงสุด
๑๒
         
จากตารางที่ ๖ ผลที่ได้จากการทดลองโหลที่ ๕ กะปิ ผงชูรส ไข่แดง นมถั่วเหลือง ผลปรากฏว่าจำนวนรากรวม ๖๕ เซนติเมตร จำนวนรากเฉลี่ย ๓ เซนติเมตร ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๑,๖ เซนติเมตร จำนวนรากยาวที่สุดรวม ๔๑ เซนติเมตร จำนวนรากยาวที่สุดเฉลี่ย ๒ เซนติเมตร ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๑,๔ เซนติเมตร ความยาวรากรวม ๑๐๑.๑๐ เซนติเมตร ความยาวรากรวมเฉลี่ย ๕ เซนติเมตร  ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๑,๑๒ เซนติเมตร




ตารางที่ ๗ ตารางบันทึกผลการทดลอง โครงงานวิทยาศาสตร์ ศึกษา เปรียบเทียบ การใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืน ใช้วิธีการทดลอง/โหลทดลอง ที่ ๖

ลำดับที่ต้นตะไคร้
จำนวนรากเฉลี่ย
(ราก)
รากยาวที่สุด
(เซนติเมตร)
ความยาวรากรวม
(เซนติเมตร)
๐.๗๐
๑.๕๐
๑.๐๐
๒.๓๐
๐.๗๐
๑.๒๐
๐.๗๐
๑.๗๐
๓.๕๐
๑๐.๘๐
๑.๐๐
๑.๔๐
๑.๐๐
๑.๓๐
๑.๗๐
๓.๓๐
๐.๙๐
๑.๙๐
๑๐
๐.๙๐
๑.๓๐
๑๑
๑.๕๐
๒.๖๐
๑๒
๑.๙๐
๑.๙๐
๑๓
๑.๔๐
๑.๔๐
๑๔
๑.๖๐
๑.๖๐
๑๕
๑.๗๐
๑.๗๐
๑๖ผ
๑.๔๐
๑.๔๐
๑๗
๐.๖๐
๐.๖๐
๑๘
๑.๖๐
๑.๖๐
๑๙
๑.๖๐
๓.๑๐
๒๐
๑.๙๐
๖.๕๐
รวม
๔๒
๒๗
๔๙.๑๐
รวมค่าเฉลี่ย
ค่าต่ำสุด
ค่าสูงสุด
๑๑
         
จากตารางที่ ๖ ผลที่ได้จากการทดลองโหลที่ ๕ กะปิ ผงชูรส M๑๕๐ นมเปรี้ยว ซีอิ๊วดำ ผลปรากฏว่าจำนวนรากรวม ๔๒ เซนติเมตร จำนวนรากเฉลี่ย ๒ เซนติเมตร ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๑,๔ เซนติเมตร จำนวนรากยาวที่สุดรวม ๒๗ เซนติเมตร จำนวนรากยาวที่สุดเฉลี่ย ๑ เซนติเมตร ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๑,๔ เซนติเมตร ความยาวรากรวม ๔๙.๑๐ เซนติเมตร ความยาวรากรวมเฉลี่ย ๒ เซนติเมตร  ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด คือ ๑,๑๑ เซนติเมตร




บทที่ ๕
สรุปผลการดำเนินการและอภิปรายผล
สรุปผลการดำเนินการ
          จากการทดลองศึกษา เปรียบเทียบ การใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืน ผลปรากฏว่า ในการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้ อันดับที่ ๑ กะปิ (โหลที่ ๒) อันดับที่ ๒ น้ำเปล่า (โหลที่ ๑) อันดับที่ ๓ เครื่องดื่มชูกำลัง (โหลที่ ๓) อันดับที่ ๔ กะปิ ผงชูรส ไข่แดง นมถั่วเหลือง (โหลที่ ๕) อันดับที่ ๕ กะปิ ผงชูรส M๑๕๐ (โหลที่ ๔) อันดับที่ ๖ กะปิ ผงชูรส M๑๕๐ นมเปรี้ยว ซีอิ้วดำ (โหลที่ ๖) ผลที่ได้กะปิมีผลต่อการเร่งการออกของต้นตะไคร้จริง แต่สูตรที่อยู่ในยูทูปที่ให้ใส่สารปรุงแต่งอาหาร เพิ่มผงชูรส นมเปรี้ยว นมถั่วเหลือง ไข่แดง ซีอิ๊วดำ รากเกิดออกมาน้อย สั้น ผลที่ได้ไม่เท่ากะปิ น้ำเปล่า คาราบาวแดง 
อภิปรายผลการดำเนินการ
          ผู้จัดทำโครงงานได้จากการทดลองศึกษา เปรียบเทียบ การใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืน ซึ่งผลการทดลองดังนี้ 
โหลที่ ๑ น้ำเปล่า จำนวนรากเฉลี่ย ๕ เซนติเมตร รากยากที่สุด ๕ เซนติเมตร รากยาวที่สุดเฉลี่ย ๓  เซนติเมตร ความยาวรากเฉลี่ยรวม ๘.๕๓ เซนติเมตร รวมผล ๒๒ เซนติเมตร 
          โหลที่ ๒ กะปิ จำนวนรากเฉลี่ย ๖ เซนติเมตร รากยากที่สุด ๘ เซนติเมตร รากยาวที่สุดเฉลี่ย ๔  เซนติเมตร ความยาวรากเฉลี่ยรวม ๒๒.๗๓ เซนติเมตร รวมผล ๔๑ เซนติเมตร
           โหลที่ ๓ คาราบาวแดง จำนวนรากเฉลี่ย ๔ เซนติเมตร รากยากที่สุด ๓ เซนติเมตร รากยาวที่สุดเฉลี่ย ๓  เซนติเมตร ความยาวรากเฉลี่ยรวม ๗.๗๗ เซนติเมตร รวมผล ๑๘ เซนติเมตร
           โหลที่ ๔ กะปิ ผงชูรส M๑๕๐ จำนวนรากเฉลี่ย ๓ เซนติเมตร รากยากที่สุด ๓ เซนติเมตร รากยาวที่สุดเฉลี่ย ๑ เซนติเมตร ความยาวรากเฉลี่ยรวม ๓ เซนติเมตร รวมผล ๑๐ เซนติเมตร
           โหลที่ ๕ กะปิ ผงชูรส ไข่แดง ถั่วเหลือง จำนวนรากเฉลี่ย ๓ เซนติเมตร รากยากที่สุด ๔ เซนติเมตร รากยาวที่สุดเฉลี่ย ๒  เซนติเมตร ความยาวรากเฉลี่ยรวม ๕ เซนติเมตร รวมผล ๑๔ เซนติเมตร 
          โหลที่ ๖ กะปิ ผงชูรส M๑๕๐ นมเปรี้ยว ซีอิ้วดำ จำนวนรากเฉลี่ย ๒ เซนติเมตร รากยากที่สุด ๔ เซนติเมตร รากยาวที่สุดเฉลี่ย ๑  เซนติเมตร ความยาวรากเฉลี่ยรวม ๒ เซนติเมตร รวมผล ๙ เซนติเมตร
รวมผล ในการออกรากของต้นตะไคร้ อันดับที่ ๑ กะปิ (โหลที่ ๒) อันดับที่ ๒ น้ำเปล่า (โหลที่ ๑) อันดับที่ ๓ เครื่องดื่มชูกำลัง (โหลที่ ๓) อันดับที่ ๔ กะปิ ผงชูรส ไข่แดง นมถั่วเหลือง (โหลที่ ๕) อันดับที่ ๕ กะปิ ผงชูรส M๑๕๐ (โหลที่ ๔) อันดับที่ ๖ กะปิ ผงชูรส M๑๕๐ นมเปรี้ยว ซีอิ้วดำ (โหลที่ ๖)

ข้อเสนอแนะ
เราสามารถพิสูจน์ได้ จากการทดลองศึกษา เปรียบเทียบ การใช้กะปิ คาราบาวแดง และสูตรทดลองที่ ๔-๖ ตามยูทูป มีผลต่อการเร่งการออกรากของต้นตะไคร้ โดยการแช่น้ำไว้ ๔ คืน ได้แล้ว แต่ยังอยากจะทราบเพิ่มเติมในส่วนค่า pH ของน้ำส่วนผสมแต่ละสูตรที่ทำการทดลองว่ามีค่าเท่าไร








บรรณานุกรม

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ๒๕๖๑.ตะไคร้. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา :  http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้
(๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑)
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ๒๕๖๑. กะปิ. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา :  http://th.wikipedia.org/wiki/กะปิ
(๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑)
สวนมะนาวสุภิษะฟาร์ม. ๒๕๕๘. กะปิเร่งราก. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://sites.google.com/site/manowsupisafarm/article/a16 (๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑)
Lookhin. ๒๕๖๑. M150. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.unzeen.com/article/1344/ (๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑)
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ๒๕๖๑. โมโนโซเดียมกลูตาเมต. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา :  http://th.wikipedia.org/wiki/โมโนโซเดียมกลูตาเมต (๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑)
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ๒๕๖๑. นมเปรี้ยว. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา :  http://th.wikipedia.org/wiki/นมเปรี้ยว (๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑)
ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. ๒๕๖๑. ซีอิ๊ว. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา :  http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1435/fermented-soy-sauce-ซีอิ๊ว (๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑)
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ๒๕๖๐. ไข่แดง. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา :  http://th.wikipedia.org/wiki/ไข่แดง
 (๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑)
ธนกร เชื้อท้อง. ๒๕๖๑. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธุ์พืช. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา :  http://sites.google.com/site/suxsngserimkarreiynru/kar-subphanthu-baeb-xasay-mi-xasay-phes-khxng-phuch-dxk-laea-kar-khyay-phanthu-phuch (๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑)
สุปราณี ศิลาวงค์. ๒๕๖๑. ราก. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://sites.google.com/site/krunidnoi026/science/bth-thi-1/related (๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑)
ครูเจน.  ๒๕๖๑. ลำเลียงน้ำและลำเลียงอาหารในพืช. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา :
http://sites.google.com/site/sciencekrujane/kar-laleiyng-na-laea-xahar-ni-phuch (๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑)














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น