วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เครื่องม้วนผ้ากึ่งผ้าอัตโนมัติ

บทที่ ๑ บทนำ ๑.๑ ที่มาและความสำคัญ โรงเรียนอนุบาลสาสนสิทธิ์อำนวย ได้มีจัดการเรียนการสอน ๕ วัน คือวันจันทร์ถึงศุกร์ ซึ่งมีจำนวนนักเรียน ๖๒๖ คน ในแต่ละปีการศึกษา จะมีการจัดกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ประชุมผู้ปกครอง วันไหว้ครู วันแม่ วันภาษาไทย วันวิทยาศาสตร์ วันคริสต์มาส วันเด็ก เป็นต้น ซึ่งจะต้องจัดเตรียมสถานที่ตกแต่งผูกผ้าประดับเวที เมื่อจัดกิจกรรมเสร็จไปลุล่วงเป้าหมายแล้ว จะต้องทำการเก็บสถานที่จัดกิจกรรม เก็บผ้าที่ผูกตกแต่งเวที ซึ่งกระผมและเพื่อนหลายคนได้ไปช่วยคุณครูม้วนผ้า โดยนั่งจับกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน หลายกลุ่ม ตามจำนวนผ้าที่ใช้ผูกตกแต่งเวที เพื่อช่วยกันม้วนผ้าเก็บทีละม้วน ใช้เวลานานมากและปวดตรงข้อมือเวลากดม้วนผ้า กระผมจึงคิดว่าจะมีวิธีการที่จะแก้ปัญหานี้อย่างไร คณะผู้ทำจึงได้ศึกษาหาข้อมูลจากสื่ออินเตอร์เน็ต คิดค้นหาวิธีแก้ปัญหา จึงได้สร้างประดิษฐ์เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ในการจัดเก็บผ้าเวทีตกแต่งภายในโรงเรียนได้ ช่วยประหยัดเวลาในการม้วนผ้าเก็บไว้ โดยนำมอเตอร์ไฟฟ้าใช้กลไกของพลังงานกล พลังงานไฟฟ้า และได้ศึกษาเรื่องแรง ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ นี้ขึ้นเพื่อเอื้อถึงประโยชน์ที่จะได้รับคือ ประดิษฐ์เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ในการจัดเก็บผ้าเวทีตกแต่งภายในโรงเรียน ศึกษาเรื่องของแรง ช่วยประหยัดเวลาในการม้วนผ้าเก็บไว้ ความสะดวกในการม้วนผ้า ไม่ต้องเสียเวลาม้วนทีละหลายคน และเป็นแนวทางในการประดิษฐ์เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ให้ผู้อื่นสามารถศึกษานำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ๑.๒ วัตถุประสงค์ ๑.๒.๑ เพื่อประดิษฐ์เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ในการจัดเก็บผ้าเวทีตกแต่งภายในโรงเรียนได้ ๑.๒.๒ เพื่อประหยัดเวลาในการม้วนผ้าเก็บไว้ สะดวกในการม้วนผ้า และไม่ต้องเสียเวลาม้วนทีละหลายคน ๑.๒.๓ เพื่อนำความรู้เรื่องของแรงและไฟฟ้า มาแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ๑.๒.๔ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ๑.๓ สมมติฐาน ทดสอบประสิทธิภาพเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ สามารถม้วนเก็บผ้าได้จริงและประหยัดเวลา ตัวแปรต้น เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ตัวแปรตาม ระยะเวลาในการเก็บม้วนผ้า ตัวแปรควบคุม ความยาวของผ้า ขนาดผ้า ชนิดของผ้า และจำนวนครั้งที่ทดลองในการม้วน ๑.๔ ขอบเขตของการทำโครงงาน 1.๔.๑ คนทำการทดลองคนเดิม ที่ทำการทดลองทุกครั้ง ๑.๔.๒ ทำการทดลองที่หอประชุมอเนกประสงค์ ณ โรงเรียนอนุบาลสาสนสิทธิ์อำนวย ๑.๕ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๑.๕.๑ ประดิษฐ์เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ในการจัดเก็บผ้าเวทีตกแต่งภายในโรงเรียนได้ ๑.๕.๒ ช่วยประหยัดเวลาในการม้วนผ้าเก็บไว้ความสะดวกในการม้วนผ้า และไม่ต้องเสียเวลาม้วนทีละหลายคน ๑.๕.๓ เพื่อนำความรู้เรื่องของแรงและไฟฟ้า มาแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ๑.๕.๔ เกิดการเรียนรู้โดยศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และเป็นแนวทางในการประดิษฐ์เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ให้ผู้อื่นสามารถศึกษานำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ๑.๖ งบประมาณที่ใช้ดำเนินการ งบประมาณ 1๔,๔๖๒ บาท บทที่ ๒ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ๒.๑ มอเตอร์ไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า (อังกฤษ: electric motor) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล การทำงานปกติของมอเตอร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กในตัวมอเตอร์ และสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสในขดลวดทำให้เกิดแรงดูดและแรงผลักของสนามแม่เหล็กทั้งสอง ในการใช้งานตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมการขนส่งใช้มอเตอร์ฉุดลาก เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว มอเตอร์ไฟฟ้ายังสามารถทำงานได้ถึงสองแบบ ได้แก่ การสร้างพลังงานกล และ การผลิตพลังงานไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้าถูกนำไปใช้งานที่หลากหลายเช่น พัดลมอุตสาหกรรม เครื่องเป่า ปั๊ม เครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน และดิสก์ไดรฟ์ มอเตอร์ไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนโดยแหล่งจ่ายไฟกระแสตรง (DC) เช่น จากแบตเตอรี่, ยานยนต์หรือวงจรเรียงกระแส หรือจากแหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ (AC) เช่น จากไฟบ้าน อินเวอร์เตอร์ หรือ เครื่องปั่นไฟ มอเตอร์ขนาดเล็กอาจจะพบในนาฬิกาไฟฟ้า มอเตอร์ทั่วไปที่มีขนาดและคุณลักษณะมาตรฐานสูงจะให้พลังงานกลที่สะดวกสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดใช้สำหรับการใช้งานลากจูงเรือ และ การบีบอัดท่อส่งน้ำมันและปั้มป์สูบจัดเก็บน้ำมันซึ่งมีกำลังถึง 100 เมกะวัตต์ มอเตอร์ไฟฟ้าอาจจำแนกตามประเภทของแหล่งที่มาของพลังงานไฟฟ้าหรือตามโครงสร้างภายในหรือตามการใช้งานหรือตามการเคลื่อนไหวของเอาต์พุต และอื่น ๆ (วิกิพีเดีย,25๖๕) ๒.๒ แรง แรง หมายถึง สิ่งที่มากระทำต่อวัตถุในลักษณะของการดึงหรือดัน แล้วทำให้วัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพไปจากเดิม เป็นการถ่ายเทพลังงานจากตัวเราหรือจากแหล่งกำเนิดพลังงานไปยังวัตถุสิ่งของ เช่น เปลี่ยนอัตราเร็ว เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็น นิวตัน แรงแบ่งได้เป็น 1. แรงที่เกิดจากการสัมผัส (Contact Force) เช่น แรงเสียดทาน แรงตึงเชือก แรงตั้งฉาก แรงต้านอากาศ แรงกระทำ และแรงสปริง 2. แรงที่ไม่ได้เกิดจากการสัมผัส (Non-Contact Force) ได้แก่ แรงแม่เหล็ก แรงประจุไฟฟ้า แรงโน้มถ่วงของโลก (Plook Creator,25๖๕) ๒.๓ แรงดึง คือ แรงที่กระทำต่อวัตถุที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่เข้ามาหาตัวเรา เช่น เราดึงแขนคุณแม่มาหาเรา เราลากเก้าอี้ เราดึงผ้าจากราวตากผ้า คนเล่นชักเย่อ เด็กลากรถ เราลากควาย ฯลฯ (tanyaporn,25๖๕) ๒.๔ แรงเสียดทาน คือแรงต้านการเคลื่อนที่บนผิวสัมผัสที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุ หรือแรงที่ต้านทานการเคลื่อนที่ของวัตถุไปบนพื้นผิวสัมผัส ซึ่งส่งผลให้วัตถุดังกล่าวเคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดนิ่งไปในท้ายที่สุด ดังนั้น แรงเสียดทานจึงมีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ และมีขนาดขึ้นอยู่กับ ลักษณะของพื้นผิวสัมผัส และ แรงหรือน้ำหนัก ที่กระทำในลักษณะตั้งฉากต่อพื้นผิวดังกล่าว หากแรงกดตั้งฉากกับผิวสัมผัสมีขนาดมากเท่าใดย่อมส่งผลให้เกิดแรงเสียดทานมากขึ้นเท่านั้น ประเภทของ แรงเสียดทาน แรงเสียดทานจำแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แรงเสียดทานชนิดแห้ง (Dry Friction) คือแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสกันของวัตถุที่มีสถานะเป็นของแข็ง โดยแรงเสียดทานชนิดแห้งสามารถจำแนกออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือ แรงเสียดทานสถิต (Static Friction) คือแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ ในสภาวะที่วัตถุได้รับแรงกระทำแล้วหยุดนิ่งอยู่กับที่ แรงเสียดทานจลน์ (Kinetic Friction) คือแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ ในสภาวะที่วัตถุได้รับแรงกระทำแล้แรงเสียดทานในของไหล (Fluid Friction) คือแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของวัตถุในของไหล (Fluid) หรือการเคลื่อนที่ของวัตถุในสสารที่มีสถานะเป็นของเหลวและก๊าซ เช่น ความต้านทานของอากาศที่กระทำต่อเครื่องบินหรือการต้านทานของน้ำที่กระทำต่อเรือ เป็นต้น แรงเสียดทานจากการหมุน (Rolling Friction) คือแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของวัตถุทรงกลมหรือมีพื้นผิวกลมมนบนพื้นผิวสัมผัส เช่น การเคลื่อนที่ของลูกบอลหรือล้อรถบนถนน ประโยชน์ของ แรงเสียดทาน แรงเสียดทานมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์มายาวนาน ตั้งแต่ยุคสมัยของการริเริ่มจุดไฟ การนำหินมากระทบกัน หรือการนำกิ่งไม้แห้งมาขัดสีเพื่อสร้างประกายไฟ ต่างเป็นผลมาจากการใช้ประโยชน์ของแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุ ทำให้พลังงานการเคลื่อนที่บางส่วนถูกแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนวเกิดการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ สมบัติของแรงเสียดทาน 1. แรงเสียดทานมีค่าเป็นศูนย์ เมื่อวัตถุไม่มีแรงภายนอกมากระทำ 2. ขณะที่มีแรงภายนอกมากระทำต่อวัตถุ และวัตถุยังไม่เคลื่อนที่ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นมีขนาดต่าง ๆ กัน ตามขนาดของแรงที่มากระทำ และแรงเสียดทานที่มีค่ามากที่สุดคือ แรงเสียดทานสถิต เป็นแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเริ่มเคลื่อนที่ 3. แรงเสียดทานมีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ 4. แรงเสียดทานสถิตมีค่าสูงกว่าแรงเสียดทานจลน์เล็กน้อย 5. แรงเสียดทานจะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของผิวสัมผัส ผิวสัมผัสหยาบหรือขรุขระจะมีแรงเสียดทานมากกว่าผิวเรียบและลื่น 6. แรงเสียดทานขึ้นอยู่กับน้ำหนักหรือแรงกดของวัตถุที่กดลงบนพื้น ถ้าน้ำหนักหรือแรงกดมากแรงเสียดทานก็จะมากขึ้นด้วย 7. แรงเสียดทานไม่ขึ้นอยู่กับขนาดหรือพื้นที่ของผิวสัมผัส การลดแรงเสียดทาน การลดแรงเสียดทานสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้ การใช้น้ำมันหล่อลื่นหรือจาระบี 2. การใช้ระบบลูกปืน 3. การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ตลับลูกปืน การออกแบบรูปร่างของยานพาหนะให้เพรียวลมทำให้ลดแรงเสียดทาน การเพิ่มแรงเสียดทาน การเพิ่มแรงเสียดทานในด้านความปลอดภัยของมนุษย์ เช่น 1. ยางรถยนต์มีดอกยางเป็นลวดลาย มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มแรงเสียดทานระหว่างล้อกับถนน ดังรูป 2. การหยุดรถต้องเพิ่มแรงเสียดทานที่เบรก เพื่อหยุดหรือทำให้รถแล่นช้าลง 3. รองเท้าบริเวณพื้นต้องมีลวดลาย เพื่อเพิ่มแรงเสียดทานทำให้เวลาเดินไม่ลื่นหกล้มได้ง่าย 4. การปูพื้นห้องน้ำควรใช้กระเบื้องที่มีผิวขรุขระ เพื่อช่วยเพิ่มแรงเสียดทาน เวลาเปียกน้ำจะได้ไม่ลื่นล้ม (คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ,25๖๓) ๒.๕ ความเร่ง ความเร็วที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลาเป็นปริมาณเวกเตอร์หรืออัตราการเปลี่ยนความเร็ว เมื่อวัตถุมีความเร่งในช่วงเวลาหนึ่ง ความเร็วของมันจะเปลี่ยนแปลงไป ความเร่งอาจมีค่าเป็นบวกหรือลบก็ได้ ซึ่งเรามักว่าเรียก ความเร่ง (+a) กับ ความหน่วง (-a) ตามลำดับ ความเร่งมีนิยามว่า "อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง" (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี,๒๕๖๔) ๒.๖ ผ้าต่วน ผ้าต่วนเป็นผ้าที่ทำโดยใช้โครงสร้างทอผ้าซาตินแต่ทำด้วยเส้นด้ายปั่นแทนเส้นใย เนื้อผ้าซาตินมีความมันเงาและนุ่มนวลยิ่งขึ้นผ่านโครงสร้างการทอผ้าซาติน Warpเส้นด้ายจะลอยอยู่เหนือผ้าเส้นด้ายเช่นสี่กว่าและต่ำกว่า (ในผ้าซาตินหรือผ้าต่วนปาด เส้นด้ายพุ่งจะลอยอยู่เหนือเส้นด้ายยืน) การทอธรรมดาแบบมาตรฐานใช้โครงสร้างแบบด้านเดียวและด้านเดียว ลูกลอยยาวสร้างพื้นผิวที่เรียบเนียนน่าสัมผัสและลดการกระเจิงของแสงเพื่อเพิ่มความเงางาม โครงสร้างการทอนี้มีความอ่อนไหวต่อการสึกหรอมากกว่าการทอแบบอื่น ๆ ในยุคปัจจุบันเรยอนที่ถูกกว่ามักถูกแทนที่ด้วยผ้าฝ้าย คุณสมบัติที่ดีกว่าถูกชุบเพื่อให้มีความเงางามสูงขึ้น บางตัวถูกรีดเพื่อให้มีความเงาเท่านั้น แต่สิ่งนี้จะหายไปเมื่อซัก (Tortora,2565) บทที่ ๓ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ ๓.๑ วัสดุอุปกรณ์ ๓.๑.๑. มอเตอร์ ๒๒๐V ๙๐W ๑๐๐RPM พร้อม SPEED จำนวน ๑ ชุด ๓.๑.๒ เฟืองโซ่ ขนาด ๒๔ ฟัน จำนวน ๑ ตัว ๓.๑.๓ เฟืองขบ ขนาด 36 ฟัน จำนวน ๑ ตัว ๓.๑.๔ แกนเพลา ขนาด ๑๕ มิล ยาว ๕๐ เซนติเมตร จำนวน ๑ แท่ง ๓.๑.๕ แผ่นสังกะสี ขนาด ๑๕x๒๕ เซนติเมตร จำนวน ๒ แผ่น ๓.๑.๖ เหล็กฉาก ขนาด ๓x๓ เซนติเมตร ยาว ๑๘๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน ๓.๑.๗ เหล็กฉาก ขนาด ๓x๓ เซนติเมตร ยาว ๖๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน ๓.๑.๘ เหล็กฉาก ขนาด ๓x๓ เซนติเมตร ยาว ๔๒ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน ๓.๑.๙ เหล็กฉาก ขนาด ๓x๓ เซนติเมตร ยาว ๓๙ เซนติเมตร จำนวน ๔ ท่อน ๓.๑.๑๐ เหล็กฉาก ขนาด ๓x๓ เซนติเมตร ยาว ๒๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน ๓.๑.๑๑ เหล็กฉาก ขนาด ๓x๓ เซนติเมตร ยาว ๑๕ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน ๓.๑.๑๒ เหล็กกลม ขนาด 1 นิ้ว ยาว ๑๘๐ เซนติเมตร จำนวน ๓ ท่อน ๓.๑.๑๓ ตลับลูกปืน ขนาด ๑๕ มิล จำนวน ๒ ตัว ๓.๑.๑๔ ตลับลูกปืน ขนาด ๑ นิ้ว ครึ่ง จำนวน ๒ ตัว ๓.๑.๑๕ ตลับลูกปืน ขนาด 1 นิ้ว จำนวน ๔ ตัว ๓.๑.๑๖ ท่อ pvc ขนาด ๑ นิ้วครึ่ง ยาว ๑๘๐ เซนติเมตร จำนวน ๑ ท่อน ๓.๑.๑๗ โซ่ ยาว ๓๐ เซนติเมตร จำนวน ๑ เส้น ๓.๑.๑๘ แผ่นไม้ ขนาด ๖x๑๒ เซนติเมตร จำนวน ๑ ท่อน ๓.๑.๑๙ เหล็กกลม ขนาด ๐.๕ นิ้ว ยาว ๑๘๐ เซนติเมตร จำนวน ๕ ท่อน ๓.๑.๒๐ เหล็กกลม ขนาด ๐.๕ นิ้ว ยาว ๑๘๒ เซนติเมตร จำนวน ๑ ท่อน ๓.๑.๒๑ เหล็กกลม ขนาด ๐.๕ นิ้ว ยาว ๗๕ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน ๓.๑.๒๒ เหล็กกลม ขนาด ๐.๕ นิ้ว ยาว ๑๘๕ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน ๓.๑.๒๓ ตัวล็อคกั้นผ้า จำนวน ๔ ตัว ๓.๑.๒๔ เหล็กกลม ขนาด ๑ นิ้ว ยาว ๘๕ เซนติเมตร จำนวน ๔ ท่อน ๓.๑.๒๕ เหล็กกลม ขนาด ๑ นิ้ว ยาว ๕๐ เซนติเมตร จำนวน ๔ ท่อน ๓.๑.๒๖ เหล็กกลม ขนาด ๑ นิ้ว ยาว ๖๐ เซนติเมตร จำนวน ๑ ท่อน ๓.๑.๒๗ เหล็กกลม ขนาด ๐.๕ นิ้ว ยาว ๔๕ เซนติเมตร จำนวน ๘ ท่อน ๓.๑.๒๘ แผ่นเหล็ก ขนาด ๕x6 เซนติเมตร จำนวน ๔ ท่อน ๓.๑.๒๙ ล้อหมุน จำนวน ๔ ล้อ ๓.๑.๓๐ ไม้อัด ขนาด ๕๐x๕๐ เซนติเมตร จำนวน ๑ แผ่น ๓.๑.๓๑ เครื่องวัดระยะความยาวของผ้า จำนวน ๑ เครื่อง ๓.๒ วิธีการดำเนินการ ๓.๒.๑ ฐานล่างโครงตัวม้วนผ้า ตัดเหล็กฉาก ขนาด ๓x๓ เซนติเมตร ยาว ๑๘๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน และ เหล็กฉาก ขนาด ๓x๓ เซนติเมตร ยาว ๖๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน ๓.๒.๒ ตัดเหล็กฉาก ขนาด ๓x๓ เซนติเมตร ยาว ๔๒ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน ๓.๒.๓ ตัดเหล็กฉาก ขนาด ๓x๓ เซนติเมตร ยาว ๓๙ เซนติเมตร จำนวน ๔ ท่อน ๓.๒.๔ ตัดเหล็กฉาก ขนาด ๓x๓ เซนติเมตร ยาว ๒๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน และตัดเหล็กฉาก ขนาด ๓x๓ เซนติเมตร ยาว ๑๕ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน ๓.๒.๕ ตัดเหล็กกลม ขนาด 1 นิ้ว ยาว ๑๘๐ เซนติเมตร จำนวน ๓ ท่อน นำหัวข้อ ๓.๒.๑,๓.๒.๒,๓.๒.๓,๓.๒.๔ มาเชื่อมกันตามแบบ (ดูแบบที่วาดไว้ในหัวข้อที่ ๓.๓.๒) ๓.๒.๖ ส่วนตัวแกนม้วนผ้า ตัดท่อ pvc ขนาด ๑ นิ้วครึ่ง ยาว ๑๘๐ เซนติเมตร จำนวน ๑ ท่อน ตลับลูกปืน ขนาด 1 นิ้ว จำนวน ๔ ตัว, ตลับลูกปืน ขนาด ๑๕ มิล จำนวน ๒ ตัว, ตลับลูกปืน ขนาด ๑ นิ้ว ครึ่ง จำนวน ๒ ตัว โซ่ ยาว ๓๐ เซนติเมตร จำนวน ๑ เส้น มาเชื่อมกันตามแบบ (ดูแบบที่วาดไว้ในหัวข้อที่ ๓.๓.๓) ๓.๒.๗ ตัดแผ่นสังกะสี ขนาด ๑๕x๒๕ เซนติเมตร จำนวน ๒ แผ่น และแผ่นไม้ ขนาด ๖x๑๒ เซนติเมตร จำนวน ๑ ท่อน (ดูแบบที่วาดไว้ในหัวข้อที่ ๓.๓.๓) ๓.๒.๘ นำมอเตอร์ไฟฟ้ากับแผงควบคุมตัวเร่งมาติดตั้งยึดกับแผ่นตามแบบ และเครื่องวัดระยะความยาวของผ้า (ดูแบบที่วาดไว้ในหัวข้อที่ ๓.๓.๓) ๓.๒.๙ ฐานตัวกางผ้าตึง ตัดเหล็กกลม ขนาด ๐.๕ นิ้ว ยาว ๑๘๐ เซนติเมตร จำนวน ๕ ท่อน ๓.๒.๑๐ ตัดเหล็กกลม ขนาด ๐.๕ นิ้ว ยาว ๑๘๒ เซนติเมตร จำนวน ๑ ท่อน ๓.๒.๑๑ ตัดเหล็กกลม ขนาด ๐.๕ นิ้ว ยาว ๗๕ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน ๓.๒.๑๒ ตัดเหล็กกลม ขนาด ๐.๕ นิ้ว ยาว ๑๘๕ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน และตัวล็อคกั้นผ้า จำนวน ๔ ตัว นำมาเชื่อมตามแบบ นำข้อ ๓.๒.๙,๓.๒.๑๐,๓.๒.๑๑ มาเชื่อมต่อกัน (ดูแบบที่วาดไว้ในหัวข้อที่ ๓.๓.๔) ๓.๒.๑๓ ตัวรถเข็น ตัดเหล็กกลม ขนาด ๑ นิ้ว ยาว ๘๕ เซนติเมตร จำนวน ๔ ท่อน ๓.๒.๑๔ ตัดเหล็กกลม ขนาด ๑ นิ้ว ยาว ๕๐ เซนติเมตร จำนวน ๔ ท่อน ๓.๒.๑๕ ตัดเหล็กกลม ขนาด ๑ นิ้ว ยาว ๖๐ เซนติเมตร จำนวน ๑ ท่อน ๓.๒.๑๖ ตัดเหล็กกลม ขนาด ๐.๕ นิ้ว ยาว ๔๕ เซนติเมตร จำนวน ๘ ท่อน ๓.๒.๑๗ ตัดแผ่นเหล็ก ขนาด ๕x6 เซนติเมตร จำนวน ๔ ท่อน และล้อหมุน จำนวน ๔ ล้อ ๓.๒.๑๘ ตัดไม้อัด ขนาด ๕๐x๕๐ เซนติเมตร จำนวน ๑ แผ่น นำข้อ ๓.๒.๑๓,๓.๒.๑๔,๓.๒.๑๕,๓.๒.๑๖,๓.๒.๑๗ มาเชื่อมต่อกัน (ดูแบบที่วาดไว้ในหัวข้อที่ ๓.๓.๕) ๓.๒.๑๙ ทำการทดลองด้วยผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน ระยะความยาวผ้า ๑๐ เมตร และ ๒๐ เมตร จับเวลากี่นาที และทำการทดลองด้วยเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ระยะความยาวผ้า ๑๐ เมตร และ ๒๐ เมตร โดยเริ่มความเร็วรอบของเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ที่ ๑๐ - ๑๐๐ rpm จับเวลากี่นาที บันทึกผลการทดลองทั้ง 2 แบบ ๓.๒.๒๐ หาพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไป (วัตต์ชั่วโมง/ม้วน) สูตร พลังงานไฟฟ้า=(กำลังไฟฟ้า x เวลา)/1,000 ๓.๒.๒๐ หาค่าความคลาดเคลื่อนของความยาวผ้า (%/ม้วน) สูตรค่าคลาดเคลื่อนร้อยละ=(ค่าจริง-ค่าประมาณ)/ค่าจริง x100 ๓.๒.๒๑ หาค่าไฟฟ้า สูตรค่าไฟฟ้า = พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ x ๒.๕๐ ๓.๒.๒๒ ดูผลค่าคลาดเคลื่อนของความยาวของผ้า ความเร็วรอบของเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ที่ ๑๐ - ๑๐๐ rpm ของเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ที่มีค่าความคล่าดเคลื่อนน้อยที่สุด ในระยะ 10 เมตร และ 20 เมตร จากนั้นทำการทดลองซ้ำอีก ๓ ครั้ง ในแต่ระยะ 10 เมตร และ 20 เมตร แล้วหาค่าเฉลี่ย สูตร ค่าเฉลี่ย=ผลบวกข้อมูลทั้งหมด/จำนวนข้อมูล ๓.๒.๒๓ แล้วนำค่าเฉลี่ยที่ได้มาเปรียบเทียบเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติที่สร้าง กับ ผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน ๓.๓ แบบชิ้นงาน 3.3.1 เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ 3.3.๒ ฐานโครงตัวม้วนผ้า 3.3.๓ ตัวแกนม้วนผ้า 3.3.๔ ตัวกางผ้าตึง 3.3.๕ รถเข็นใส่แกนม้วนผ้า บทที่ ๔ ผลการดำเนินการ จากการศึกษาเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ โดยใช้หลักการแรงการเคลื่อนที่ แรงดึง และพลังงานไฟฟ้า ปรากฏผลการทดลองดังนี้ ตารางที่ ๑ ผลการใช้งานเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติที่สร้าง เทียบกับ ผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน ผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน /เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ(rpm) เวลาในการม้วนเก็บผ้า (นาที:วินาที/ม้วน) พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไป (วัตต์ชั่วโมง/ม้วน) ความคลาดเคลื่อนของความยาวผ้า(%/ม้วน) ค่าไฟฟ้า (บาท) 1๐ เมตร ๒๐ เมตร 1๐ เมตร ๒๐ เมตร 1๐ เมตร ๒๐ เมตร 1๐ เมตร ๒๐ เมตร ผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน ๖.๔๕ ๑๒.๕๐ - - 32.00 36.๗0 - - 10 ๒.๔๐ ๔.๕๗ ๐.๑๔ ๐.๒๗ 32.00 36.00 ๐.๓๖ ๐.๖๙ ๒๐ ๑.๔๙ ๓.๒๒ ๐.๐๙ ๐.๑๙ 32.00 36.00 ๐.๒๒ ๐.๔๘ ๓๐ ๑.๒๗ ๒.๓๖ ๐.๐๘ ๐.๑๔ 32.00 36.50 ๐.๑๙ ๐.๓๕ ๔๐ ๑.๐๘ ๒.๐๘ ๐.๐๖ ๐.๑๒ 33.00 36.50 ๐.๑๖ ๐.๓๑ ๕๐ ๑.๐๑ ๑.๕๔ ๐.๐๖ ๐.๐๙ 32.00 36.00 ๐.๑๕ ๐.๒๓ ๖๐ ๐.๕๒ ๑.๓๗ 0.03 ๐.๐๘ 32.00 34.00 ๐.๐๘ ๐.๒๑ ๗๐ ๐.๕๐ ๑.๓๑ ๐.๐๓ ๐.๐๘ 32.00 36.50 ๐.๐๗ ๐.๒๐ ๘๐ ๐.๔๕ ๑.๒๒ ๐.๐๓ ๐.๐๗ 28.00 36.00 ๐.๐๗ ๐.๑๘ ๙๐ ๐.๔๒ ๑.๑๗ ๐.๐๓ ๐.๐๗ 32.00 36.00 ๐.๐๖ ๐.๑๘ ๑๐๐ ๐.๓๙ ๑.๑๑ ๐.๐๒ ๐.๐๗ 31.00 35.00 ๐.๐๖ ๐.๑๗ จากตางรางที่ 1 เป็นผลการใช้งานเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติที่สร้าง เทียบกับ นักเรียน 3 คน ใช้มือม้วน ซึ่งสามารถแบ่งส่วนการวิเคราะห์ผลการทดลองต่าง ๆ ได้ 4 ดังนี้ ส่วนที่ ๑ เวลาที่ใช้ในการม้วนเก็บผ้าจริงต่อม้วน จะเห็นได้ว่า แบบผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน ใช้เวลานานกว่าเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ เฉลี่ยถึง 6.๗๗ เท่า หรือ ๕.๕๐ นาที ที่ความยาวผ้า 1๐ เมตร และ 6.๒๗ เท่า ๗.๔๕ นาที ที่ความยาวผ้า ๒๐ เมตร ซึ่งความเร็วรอบของเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ มีผลต่อเวลาการม้วนเก็บผ้า ยิ่งความเร็วรอบเพิ่มขึ้น เวลาที่ใช้ในการม้วนเก็บผ้ายิ่งลดลง แผนภูมิที่ 1 ส่วนที่ ๒ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการม้วนเก็บจริงต่อม้วน จะเห็นได้ว่า แบบผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน ไม่มีการใช้พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากเป็นการใช้แรงงานคน แต่เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ จะใช้พลังงานไฟฟ้าในการเดินเครื่องให้ทำงาน ซึ่งความเร็วรอบของเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ มีผลต่อการใช้พลังงานไฟฟ้า ยิ่งเพิ่มความเร็วมอเตอร์เพิ่มขึ้น พลังงานไฟฟ้าที่ใช้จะลดลง เนื่องจากเวลาในการม้วนเก็บผ้าจริงต่อม้วนลดลง จึงทำให้พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการม้วนเก็บผ้าก็ลดลงตามไปด้วย แผนภูมิที่ ๒ ส่วนที่ ๓ ความคลาดเคลื่อนของความยาวผ้าที่ได้หลังจากการม้วนเก็บผ้าจริงเสร็จต่อม้วน จะเห็นได้ว่า ผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน มีค่าคลาดเคลื่อนมากกว่า การใช้เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ที่ ๐.๔๐ เปอร์เซ็นต์ ที่ความยาวผ้า 10 เมตร และ ที่ ๐.๑๕ เปอร์เซ็นต์ ที่ความยาวผ้า ๒0 เมตร ซึ่งความเร็วรอบที่เหมาะสมเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ จะอยู่ที่ ๘๐ rpm ที่ความยาวผ้า 10 เมตร และ ๖๐ rpm ที่ความยาวผ้า ๒0 เมตร จะเห็นได้ว่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนของความยาวผ้าที่ม้วนเก็บได้น้อยที่สุด ในแต่ละความเร็วรอบของมอเตอร์ แผนภูมิที่ ๓ ส่วนที่ 4 ค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการม้วนเก็บจริงต่อม้วน จะเห็นได้ว่า แบบผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน ไม่มีค่าไฟฟ้า เนื่องจากเป็นการใช้แรงงานคน แต่เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ จะใช้พลังงานไฟฟ้าในการเดินเครื่องให้ทำงาน ซึ่งความเร็วรอบของเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ มีผลต่อค่าไฟฟ้า ยิ่งเพิ่มความเร็วมอเตอร์เพิ่มขึ้น ค่าไฟฟ้าก็จะลดลง เนื่องจากเวลาในการม้วนเก็บผ้าจริงต่อม้วนลดลง จึงทำให้ค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการม้วนเก็บผ้าก็ลดลงตามไปด้วย แผนภูมิที่ ๔ แผนภูมิที่ ๑ เวลาที่ใช้ในการม้วนเก็บผ้าจริงต่อม้วน แผนภูมิที่ ๒ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไป(วัตต์ชั่วโมง/ม้วน) แผนภูมิที่ ๓ ความคลาดเคลื่อนของความยาวผ้า(%/ม้วน) แผนภูมิที่ ๔ ค่าไฟฟ้า ตางรางที่ ๒ ผลการใช้งานเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติที่สร้าง จากความเร็วรอบที่เหมาะสมจะอยู่ที่ ๘๐ rpm ที่ความยาวผ้า 10 เมตร ซึ่งเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนของความยาวผ้าที่ม้วนเก็บได้น้อย ที่สุด เทียบกับ ผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน ดังนี้ ระยะความยาวของผ้า ๑๐ เมตร โดยวิธีการทดลอง เวลาในการม้วนเก็บผ้า (นาที:วินาที) ครั้งที่ 1 เวลาในการม้วนเก็บผ้า (นาที:วินาที) ครั้งที่ ๒ เวลาในการม้วนเก็บผ้า (นาที:วินาที) ครั้งที่ ๓ เวลาในการม้วนเก็บผ้า (นาที:วินาที) ค่าเฉลี่ย ผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน ๕.๙๐ ๖.๓๒ ๗.๑๔ ๖.๔๕ เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ๐.๔๔ ๐.๔๕. ๐.๔๔ ๐.๔๔ ดังนั้น เวลาที่ใช้ในการม้วนเก็บผ้าจริงต่อม้วน จะเห็นได้ว่า แบบผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน คือ ๖.๔๕ นาที ส่วนแบบเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ คือ ๐.๔๔ นาที ซึ่งแบบผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน ใช้เวลานานกว่าเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ เฉลี่ยถึง ๑๔.๖๕ เท่า หรือ ๖.๐๑ นาที ที่ความยาวผ้า 1๐ เมตร แผนภูมิที่ ๕ ตางรางที่ ๓ ผลการใช้งานเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติที่สร้าง จากความเร็วรอบที่เหมาะสมจะอยู่ที่ ๘๐ rpm ที่ความยาวผ้า ๒0 เมตร ซึ่งเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนของความยาวผ้าที่ม้วนเก็บได้น้อย ที่สุด เทียบกับ ผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน ดังนี้ ระยะความยาวของผ้า ๒๐ เมตร โดยวิธีการทดลอง เวลาในการม้วนเก็บผ้า (นาที:วินาที) ครั้งที่ 1 เวลาในการม้วนเก็บผ้า (นาที:วินาที) ครั้งที่ ๒ เวลาในการม้วนเก็บผ้า (นาที:วินาที) ครั้งที่ ๓ เวลาในการม้วนเก็บผ้า (นาที:วินาที) ค่าเฉลี่ย ผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน ๙.๐๓ ๑๓.๓๐ ๑๕.๑๐ ๑๒.๕๐ เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ๑.๓๙ ๑.๓๘ ๑.๓๖ ๑.๓๘ ดังนั้น เวลาที่ใช้ในการม้วนเก็บผ้าจริงต่อม้วน จะเห็นได้ว่า แบบผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน คือ ๑๒.๕๐ นาที ส่วนแบบเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ คือ ๑.๓๘ นาที ซึ่งแบบผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน ใช้เวลานานกว่าเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ เฉลี่ยถึง ๙.๐๖ เท่า หรือ ๑๑.๑๒ นาที ที่ความยาวผ้า ๒๐ เมตร แผนภูมิที่ ๕ แผนภูมิที่ ๕ ค่าเฉลี่ยเวลาในการม้วนเก็บผ้า (นาที:วินาที) บทที่ ๕ สรุปผลการดำเนินการ อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการดำเนินการ เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ สามารถทำได้จริง เพราะสามารถม้วนผ้าได้จริง ใช้วิธีการการใช้งานเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติที่สร้าง เทียบกับ ผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน พบว่า แบบผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน คือ ๖.๔๕ นาที ส่วนแบบเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ คือ ๐.๔๔ นาที ที่ความเร็วรอบมอเตอร์ที่เหมาะสม ๘๐ rpm ซึ่งแบบผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน ใช้เวลานานกว่าเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ เฉลี่ยถึง ๑๔.๖๕ เท่า หรือ ๖.๐๑ นาที ที่ความยาวผ้า 1๐ เมตร ใช้มือม้วน ใช้เวลานานกว่าเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ และ ระยะที่มีความยาวผ้า ๒๐ เมตร แบบผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน คือ ๑๒.๕๐ นาที ส่วนแบบเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ คือ ๑.๓๘ นาที ที่ความเร็วรอบมอเตอร์ที่เหมาะสม ๖๐ rpm ซึ่งแบบผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน ใช้เวลานานกว่าเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ เฉลี่ยถึง ๙.๐๖ เท่า หรือ ๑๑.๑๒ นาที ดังนั้น ผลจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าการใช้เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ใช้เวลาน้อยกว่าการม้วนด้วยมือของผู้ทำการทดลอง ซึ่งใช้หลักการแรงการเคลื่อนที่ แรงดึง และพลังงานไฟฟ้ามาแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ช่วยประหยัดเวลาในการม้วนผ้าเก็บไว้ความสะดวกในการม้วนผ้า และไม่ต้องเสียเวลาม้วนทีละหลายคน และเกิดการเรียนรู้โดยศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และเป็นแนวทางในการประดิษฐ์เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ให้ผู้อื่นสามารถศึกษานำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป และมีต้นทุนต่ำกว่าท้องตลาด เมื่อเปรียบเทียบราคานี้กับการใช้งานในสถานที่ศึกษา กับการใช้งานในโรงงานผ้า 5.2 อภิปรายผลการดำเนินการ ความเร็วรอบของเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ มีผลต่อเวลาการม้วนเก็บผ้า ยิ่งความเร็วรอบเพิ่มขึ้น เวลาที่ใช้ในการม้วนเก็บผ้ายิ่งลดลง พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการม้วนเก็บจริงต่อม้วน จะเห็นได้ว่า แบบผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน ไม่มีการใช้พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากเป็นการใช้แรงงานคน แต่เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ จะใช้พลังงานไฟฟ้าในการเดินเครื่องให้ทำงาน ซึ่งความเร็วรอบของเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ มีผลต่อการใช้พลังงานไฟฟ้า ยิ่งเพิ่มความเร็วมอเตอร์เพิ่มขึ้น พลังงานไฟฟ้าที่ใช้จะลดลง เนื่องจากเวลาในการม้วนเก็บผ้าจริงต่อม้วนลดลง จึงทำให้พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการม้วนเก็บผ้าก็ลดลง และความเร็วรอบของเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ มีผลต่อค่าไฟฟ้า ยิ่งเพิ่มความเร็วมอเตอร์เพิ่มขึ้น ค่าไฟฟ้าก็จะลดลง เนื่องจากเวลาในการม้วนเก็บผ้าจริงต่อม้วนลดลง จึงทำให้ค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการม้วนเก็บผ้าก็ลดลงตามไปด้วย 5.3 ข้อเสนอแนะ 5.3.1 ควรเปลี่ยนเครื่องวัดระยะความยาวของผ้าให้มีค่าความคลาดเคลื่อนน้อยกว่านี้ เพื่อการทดลองที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น 5.3.2 สามารถนำไปประยุกต์ใช้ม้วนสายไฟ สายยาง สายเอ็น เส้นด้าย เป็นต้น 5.3.๓ การทำโครงงานครั้งต่อไปที่ต้องการพัฒนาคุณภาพควรตรวจสอบประสิทธิภาพ โดยการนำวัสดุอุปกรณ์อื่น ดัดแปลงเพื่อเปรียบเทียบและได้สิ่งประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น บรรณานุกรม คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ. ๒๕๖๓. แรงเสียดทาน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttps://ngthai.com/science/27846/friction (๑6 กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓) วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ๒๕๖๔. ความเร่ง [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ความเร่ง (๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๔) วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ๒๕๖๕. มอเตอร์ไฟฟ้า [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/มอเตอร์ (13 ตุลาคม ๒๕๖๕) Plook Creator. ๒๕๖๕. แรงคืออะไร. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/92297 (6 ตุลาคม ๒๕๖๕) Tanyaporn. ๒๕๖๕. แรงดึง. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://sites.google.com/site/tanyaporn5570115110/raeng-laea-kar-kheluxnthi (๒6 กันยายน ๒๕๖๕) Tortora. ๒๕๖๕. ผ้าต่วน [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://hmong.in.th/wiki/Sateen (๑๒ กันยายน ๒๕๖๕) ภาคผนวก ภาพที่ ๑ การทดลองโดยผู้ทำการทดลอง ๓ คน ใช้มือม้วนผ้าต่วน ภาพที่ ๒ การทดลองโดยผู้ทำการทดลอง ๓ คน ใช้มือม้วนผ้าต่วน ภาพที่ ๓ การทดลองโดยผู้ทำการทดลอง ๓ คน ใช้มือม้วนผ้า เวลาที่ใช้ คือ ๖.๔๕ นาที ที่ความยาวผ้า 1๐ เมตร ระยะที่มีความยาวผ้า ๒๐ เมตร แบบผู้ทำการทดลอง 3 คน ใช้มือม้วน คือ ๑๒.๕๐ นาที ภาพที่ ๔ เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ภาพที่ ๕ เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ภาพที่ ๖ เครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ภาพที่ ๗ ตังกางผ้าให้ตึงหรือคลี่ผ้า ภาพที่ ๘ รถเข็นใส่ม้วนผ้าและแกนท่อม้วนผ้า ภาพที่ ๙ วัดระยะความยาวของผ้า ๑๐ เมตร และ ๒๐ เมตร ติดเทปกาวทำสัญลักษณ์ไว้ ภาพที่ ๑๐ วัดระยะความยาวของผ้า ๑๐ เมตร และ ๒๐ เมตร ติดเทปกาวทำสัญลักษณ์ไว้ ภาพที่ ๑๑ เตรียมการทดลองด้วยเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ภาพที่ ๑๒ วัดระยะห่าง 50 เซนติเมตร จากตัวกางผ้ากับเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ภาพที่ ๑๓ นำท่อแกนม้วนผ้าสอดลงล็อคตัวม้วนเข้ากับเครื่องม้วนผ้ากึ่งอัตโนมัติ ภาพที่ ๑๔ นำผ้าต่วนสอดเข้าไปที่ตัวกางผ้า ภาพที่ ๑๕ นำเทปกาวติดผ้าต่วนยึดกับท่อแกนม้วนผ้า ภาพที่ ๑๖ กดรีเซ็ตค่าเป็นศูนย์ ในเครื่องวัดระยะความยาวของผ้า วางลงแกนท่อม้วนผ้า ภาพที่ ๑๗ ทดลองม้วนผ้าต่วน รอบมอเตอร์ที่ 10 - ๑๐๐ rpm ทำการบันทึกผลการทดลอง ภาพที่ ๑๘ ทดลองม้วนผ้าต่วน รอบมอเตอร์ที่ ๘๐ rpm อีก 3 ครั้ง ทำการบันทึกผลการทดลอง ภาพที่ ๑๙ ทดลองม้วนผ้าต่วน รอบมอเตอร์ที่ ๖๐ rpm อีก 3 ครั้ง ทำการบันทึกผลการทดลอง ภาพที่ ๒๐ ทดลองม้วนผ้าต่วน รอบมอเตอร์ที่ ๖๐ rpm อีก 3 ครั้ง ทำการบันทึกผลการทดลอง สามารถโหลดได้ที่ลิงค์ https://docs.google.com/document/d/1L7vV4rRyRf99mXwllXEl6YvU20CMpS09/edit?usp=sharing&ouid=113670048089308897533&rtpof=true&sd=true

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2564

มาตรา กก แจกไฟล์ ppt .ppt

มาตรา กด แจกไฟล์ ppt .ppt อ้างอิงจากppt พว มาตรา รูปภาพ มาจาก GOOGLE กน ลิงค์ ดาวน์โหลด https://drive.google.com/drive/folders/1W8AYGw2job93QS6g1BoHITSJe_K3ku1E?usp=sharing

มาตรา กด แจกไฟล์ ppt .ppt

อ้างอิงจากppt พว มาตรา รูปภาพ มาจาก GOOGLE กน ลิงค์ ดาวน์โหลด https://drive.google.com/drive/folders/1W8AYGw2job93QS6g1BoHITSJe_K3ku1E?usp=sharing